๕๖. ช้าเป็นงานนานเป็นดี
มา จ เวเคน กิจฺจานิ, กโรสิ การาเปสิ วา,
สหสา การิตํ กมฺมํ, มนฺโท ปจฺฉานุตปฺปติฯ
„ก็บุคคลอย่าทำการงานเอง
หรือใช้ผู้อื่นทำโดยผลุนผลัน,
การงานที่ทำแล้วอย่างหุนหัน
คนโง่ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง“.
(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๕๖, กวิทัปปณีติ ๑๘๙, ขุ. ชา. ๒๗/๒๔๔๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
คาถานี้ แบ่ง ๓ หรือ ๒ ประโยค ก็ได้.
๑. มา จ เวเคน กิจฺจานิ, กโรสิ การาเปสิ วา,
จ ก็ บุคคโล อ. บุคคล มา กโรสิ อย่ากระทำ วา หรือว่า มา การาเปสิ อย่าใช้ให้ใครกระทำ กิจฺจานิ ซึ่งการงาน ท. เวเคน โดยผลุนผลัน.
๒. สหสา การิตํ กมฺมํ.
กมฺมํ อ. กรรม (อตฺตนา) อันตน การิตํ ให้กระทำแล้ว สหสา โดยไม่คิด.
๓. มนฺโท ปจฺฉานุตปฺปติ
มนฺโท (ปุคฺคโล) อ. บุคคล ผู้มีปัญญาเบา (= คนพาล) อนุตปฺปติ ย่อมตามเดือดร้อน ปจฺฉา ในภายหลัง.
ถ้ารวมประโยคที่ ๒, ๓ เข้าด้วยกัน ก็ให้เติมกิริยาในระหว่าง เช่น อนุสฺสรนฺโต (ระลึกถึงอยู่) เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์. = มนฺโท อ. คนโง่ (อนุสฺสรนฺโต ระลึกถึงอยู่) การิตํ กมฺมํ ซึ่งกรรมที่ตนให้ทำแล้ว สหสา โดยไม่คิด อนุตปฺปติ ย่อมตามเดือดร้อน ปจฺฉา ในภายหลัง.
มา (อย่า) เป็นนิบาต, ถ้า มา (พระจันทร์) เป็นนาม
จ (ด้วย, อนึ่ง, ก็) นิบาต
เวเคน (โดยเร็ว, ผลุนผลัน, ด่วนพลัน) เวค+นา
กิจฺจานิ (กิจ, การงาน ท.) กิจฺจ+โย นป.
กโรสิ (ย่อมกระทำ) กร+โอ+สิ ตนาทิ. กัตตุ.
การาเปสิ (ย่อมให้กระทำ) กร+ณาเป+สิ ตนาทิ. เหตุกัตตุ.
วา (หรือ) นิบาต
สหสา (โดยเร่งรีบ, ไม่ตรึกตรอง) นิบาต. ในอธิภานัปปทีปิกา คาถา ๑๑๔๘ ว่าด้วยนิบาตบท แสดงไว้ว่า „สหสา ตุ อตกฺกิเต“ (แปล: ส่วน สหสา ศัพท์ ย่อมเป็นไป ในการไม่ตรึกตรอง).
การิตํ (อันตนกระทำแล้ว, ...ให้กระทำแล้ว) กร+เณ+อิ+ต > การิต+สิ
กมฺมํ (กรรม, การงาน) กมฺม+สิ.
มนฺโท (ที่อ่อน, ที่เบา, คนพาล) มนฺท+สิ
ปจฺฉานุตปฺปติ ตัดบทเป็น ปจฺฉา (ภายหลัง) +อนุตปฺปติ (ตามเดือดร้อน) = ตามเดือนร้อนใจในภายหลัง
ส่วนในกวิทัปปณนีติ คาถา ๑๘๙ มีข้อความต่างกันนิดหน่อย ดังนี้
น จ เวเคน กิจฺจานิ, กตฺตพฺพานิ กุทาจนํ;
สหสา การิตํ กมฺมํ, พาโล ปจฺฉานุตปฺปติฯ
แปลว่า
„บุคคลไม่พึงทำกิจทั้งหลาย
โดยผลุนผลันในกาลไหน ๆ,
กรรมที่ตนทำแล้วโดยไม่คิด
คนโง่ย่อมจะเดือนร้อนในภายหลัง.“
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen