Dienstag, 25. Januar 2022

๕๗.ฆ่าโกรธได้ย่อมไม่เศร้าโศก

๕๗. ฆ่าโกรธได้ย่อมไม่เศร้าโศก


โกธํ วิหิตฺวาน กทาจิ โสเจ,

มกฺขปฺปหานํ อิสโย อวณฺณยุํ;

สพฺเพส ผารุสวจํ ขเมถ,

เอตํ ขนฺตึ อุตฺตมมาหุ สนฺโตฯ


บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหน ,

ฤาษีทั้งหลายย่อมสรรเสริญการละความลบหลู่,

บุคคลควรอดทนคำหยาบของชนทั้งปวง,

สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนี้ว่าสูงสุด.“


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๕๗, กวิทัปปณีติ ๑๙๐, ขุ. ชา. ๒๗/๒๔๕๘)


..


อธิบายศัพท์:


โกธํ: (ซึ่งความโกรธ) โกธ+อํ 

วิหิตฺวา (ละแล้ว, ทิ้งแล้ว) วิ+หา+อิ+ตฺวา > วิหิตฺวา+สิ, ลบ สิ วิภัตติ จัดเป็นนิบาต, ในพระบาฬี เป็ฯ  วธิตฺวา (ฆ่าแล้ว, เพราะฆ่า, กำจัด) หน-หึสาคตีสุ+อิ+ตฺวา แปลง หน เป็น วธ ในเพราะวิภัตติและปัจจัยทั้งปวง ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า วโธ วา สพฺพตฺถ. (รู ๕๐๓)

กทาจิ (ในกาลไหนๆ, ในกาลทุกเมื่อ) กึ+ทา+จิ (กึ สัพพนาม+ทา ปัจจัย+ จิ ศัพท์) ใชัในอรรถทั้งปวง หรือ สกลัตถะ.

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

โสเจ (เศร้าโศก, เสียใจ) สุจ++ติ,(+เอยฺย) ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ติ (เอยฺย) เป็น เอ ได้บ้าง. ในพระบาฬี เป็น โสจติ (ย่อมเศร้าโศก)

มกฺขปฺปหานํ (ซึ่งการละความแข่งดี, ประหาณความอวดดี) มกฺข (แข่งดี, โอ้อวด) + ปหาน (ละ, ประหาน) > มกฺขปฺปหาน+อํ

อิสโย: (ฤาษี .) อิสิ+โย 

อวณฺณยุํ (ย่อมยกย่อง, สรรเสริญแล้ว) +วณฺณ+ณย+อุํ จุราทิ. กัตตุ. ในพระบาฬีเป็น วณฺณยนฺติ (ย่อมสรรเสริญ).

สพฺเพส = สพฺเพสํ  (...ทังปวง) สพฺพ+นํ สัพพนาม, ในพระบาฬีเป็น สพฺเพสํ.

ผรุสวจํ (คำหยาบ, คำกระด้าง) ผรุส+วจ > ผรุสวจ+อํ,​ ในพระบาฬี เป็น วุตฺตํ ผรุสํ (คำหยาบ อันบุคคลกล่าวแล้ว).

ขเมถ (ควรอดทน) √ขมุ++เอถ ภูวาทิ. กัตตุ.

เอตํ (นั้น) เอต+อํ สัพพนาม

ขนฺตึ (ซึ่งความอดทน, อดกลั้น) ขนฺติ+อํ  

อุตฺตมมาหุ: ตัดบทเป็น อุตฺตมํ+อาหุ (กล่าว...สูงสุด) อุตฺตมํ (ว่าสูงสุด, อุดม) อุตฺตม+อํ, อาหุ (กล่าว) √พฺรู++อนฺติ วัตตมานา. หรือพฺรู++อุ ปโรกขา. ก็ได้ ภูวาทิ. กัตตุ., แปลง พฺรู เป็น อาห ด้วยสูตรว่า พฺรูภูนมาหภูวา ปโรกฺขายํ. (รู ๔๖๕),  และ แปลง อนฺติ เป็น อุ ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุฯ. (รู ๔๘๘) ภูวาทิ.

สนฺโต: (สัตบุรุษ, คนดี .) สนฺต+โย, เอา นฺต เป็น นฺตุ ด้วยสูตรว่า เสเสสุ นฺตุว. (รู ๑๐๘), แปลง นฺตุ กับ โย เป็น นฺโต ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า นฺตุสฺส นฺโต. (รู ๙๙)



ส่วนในพระบาฬี (ขุ. ชา. ๒๗/๒๔๕๘) มีข้อความเหมือนกวิทัปปณนีติ ดังนี้


‘‘โกธํ วธิตฺวา กทาจิ โสจติ, 

มกฺขปฺปหานํ อิสโย วณฺณยนฺติ;

สพฺเพสํ วุตฺตํ ผรุสํ ขเมถ, 

เอตํ ขนฺติํ อุตฺตมมาหุ สนฺโต’’


"บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ, 

ฤาษีทั้งหลายย่อมสรรเสริญการละความลบหลู่; 

บุคคลควรอดทนคำหยาบที่ชนทั้งปวงกล่าว, 

สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนี้ว่าสูงสุด.“


..


 

Keine Kommentare: