๕๙. คนดีชอบแต่คนพาลไม่ชอบ
โอวาเทยฺยานุสาเสยฺย, ปาปกา จ นิวารเย;
สตญฺหิ โส ปิโย โหติ, อสตํ โหติ อปฺปิโยฯ
“ผู้ตักเตือนและตามสั่งสอน,
และคอยห้ามจากบาปอกุศล,
ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ,
แต่ไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษ.“
(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๕๙, ธัมมนีติ ๑๗๘, กวิทัปปณีติ ๑๙๒, ขุ. ธ. ๒๕/๑๖, ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๙)
..
ศัพท์น่ารู้ :
โอวาเทยฺยานุสาเสยฺย ตัดบทเป็น โอวาเทยฺย+อนุสาเสยฺย
โอวาเทยฺย (กล่าวสอน, โอวาท) อว+√วท+เณ+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ. แปลง อว เป็น โอ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า โอ อวสฺส. (รู ๔๕)
อนุสาเสยฺย (ตามสอน, สั่งสอน) อนุ+√สาส+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
ปาปกา (จากบาป, ความชั่ว) ปาปก+สฺมา, (หมายเหตุ: เดิมต้นฉบับเป็น คาปกา ได้แก้เป็น ปาปกา เห็นว่าสมควรกว่า แต่ในพระบาฬีและกวิทัปปณนีติ เป็น อสพฺภา แปลว่า จากคนชั่ว, อสัตบุรุษ, ส่วนในธัมมนีติ เป็น อสปฺปายา)
นิวารเย (ห้าม, ปราม, ขัดขวาง) นิ+√วร+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ.
สตญฺหิ = สตํ+หิ, สตํ (ของคนดี, สัปบุรุษ ท., บัณฑิต, พระอริยเจ้า) สนฺต+นํ, ให้เอา นฺต เป็น นฺตุ ก่อน ด้วยสูตร - เสเสตุ นฺตุว. (รู ๑๐๘) = สนฺตุ+นํ, แล้วจึงแปลง นฺตุ กับ นํ เป็น ตํ ด้วยสูตร – “นํมฺหิ ตํ วา. (รู ๑๐๔) สำเร็จเป็น สตํ.
โส (ผูนั้น, เขา) ต+สิ สัพพนาม
โหติ (ย่อมเป็น) √หู+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
อสตํ (ของคนชั่ว, อสัตบุรุษ ท.) อสนฺต+นํ
ส่วนในพระบาฬีและกวิทัปปณีติ มีข้อความดังนี้
โอวเทยฺยานุสาเสยฺย, อสพฺภา จ นิวารเย;
สตญฺหิ โส ปิโย โหติ, อสตํ โหติ อปฺปิโยฯ
แปลว่า:
"บุคคลใด ย่อมให้โอวาท ย่อมสั่งสอน,
และห้ามผู้อื่นจากธรรมที่มิใช่ของสัตบุรุษ;
บุคคลนั้นแล ย่อมเป็นที่รักใคร่ของเหล่าสัตบุรุษ,
แต่จะไม่เป็นที่รักใคร่ของพวกอสัตบุรุษทั้งหลาย.“
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen