๖๔. ทรัพย์ของสัตบุรุษ
นชฺโช ปิวนฺติ โน อาปํ, รุกฺขา ขาทนฺติ โน ผลํ;
วสฺสนฺติ กฺวจิ โน เมฆา, ปรตฺถาย สตํ ธนํฯ
„แม่น้ำ ย่อมไม่ดื่มกินนำ้เสียเอง,
ต้นไม้ ไม่เคี้ยวกินผลไม้เสียเอง;
เมฆฝน จะตกเฉพาะหย่อม หามิได้,
ทรัพย์ของสัตบุรุษทั้งหลาย ก็เช่นนั้น
ย่อมมีไว้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น.“
(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๖๔, มหารหนีติ ๓๑, ธัมมนีติ ๑๔๒, กวิทัปปณีติ ๕๕)
..
ศัพท์น่ารู้ :
นชฺโช (แม่นำ้, นที ท.) นที+โย, แปลง โย เป็น โอ ด้วย ตุ ศัพท์ในสูตรว่า ตโต โยนโม ตุ. (รู ๑๖๐) = นที+โอ, แปลง อี เป็น ย ด้วยสูตรว่า ปสญฺญสฺส จ. (รู ๑๘๕) = นทฺย+โอ, แปลง ทฺย เป็น ช ด้วยสูตรว่า ยวตํ ตลนทการานํ พฺยญฺชนานิ จลญชการตฺตํ. (รู ๔๑) = น ช+โอ, ซ้อน ชฺ ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐) = นชฺช+โอ, ประกอบสำเร็จรูปเป็น นชฺโช (แม่น้ำทั้งหลาย)
ปิวนฺติ (ดื่ม) √ปา-ปาเน+อ+อนฺติ เขียนให้สั้นว่า √ปา+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ปา เป็น ปิว ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ปา ปิโพ. (รู ๔๙๔), แปลง พ เป็น ว ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ . (รู ๔๘๘)
โน (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ
อาปํ (น้ำ) อาป+อํ
รุกฺขา (ต้นไม้) รุกฺข+สิ
ขาทนฺติ (เคี้ยวกิน, ขบเคี้ยว) √ขาท-ภกฺขเน+อ+อนฺติ เขียนให้สั้นว่า √ขาท+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
ผลํ (ผลไม้) ผล+อํ
วสฺสนฺติ (ย่อมตก, ฝนตก) √วสฺส+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
กฺวจิปิ (บ้าง, บางที่) นิบาต
เมฆา (เมฆ ท.) เมฆ+โย
ปรตฺถาย (เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น) ปร+อตฺถ > ปรตฺถ+ส, หลัง อการันต์ให้แปลง ส จตุตถีวิภัตติเอกวจนะ เป็น อาย ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อาย จตุตฺเถกวจนสฺส ตุ.
สตํ (ของสัตบุรุษ ท.) สนฺต+นํ
ธนํ (ทรัพย์, สมบัติ) ธน+สิ
ส่วนในกวิทัปปณนีติ คาถาที่ ๕๕ มีข้อความต่างกันนิดหน่อย ดังนี้.
อมฺพุํ ปิวนฺติ โน นชฺโช, รุกฺโข ขาทติ โน ผลํ;
เมโฆ กฺวจิปิ โน สสฺสํ, ปรตฺถาย สตํ ธนํฯ
„แม่น้ำย่อมไม่ดื่มกินนำ้เสียเอง,
ต้นไม้ย่อมไม่เคี้ยวกินผลไม้เสียเอง;
เมฆฝนย่อมไม่เคี้ยวกินข้าวกล้าเสียเอง,
ทรัพย์ของสัตบุรุษทั้งหลายก็เช่นกัน
ย่อมมีไว้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น.“
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen