Dienstag, 8. März 2022

๖๙.คนพาลร้ายยิ่งกว่างู

๖๙. คนพาลร้ายยิ่งกว่างู


สปฺโป ทุฏฺโฐ ขโล ทุฏฺโฐ, สปฺปา ทุฏฺฐตโร ขโล;

มนฺโตสเธหิ โส สปฺโป, ขโล เกนุปสมฺมติฯ


"งูก็ร้าย คนพาลก็ร้าย,

แต่คนพาลร้ายยิ่งกว่างู;

งูนั้นย่อมสงบได้ด้วยมนต์โอสถ,

แต่คนพาลจะให้สงบด้วยอะไรเล่า?“



(โลกนีติ หมวดคนพาล คาถาที่ ๖๙, ธัมมนีติ ๑๒๙, กวิทัปปณีติ ๒๐๙, จาณักยนีติ ๒๖)


..


ศัพท์น่ารู้ :


สปฺโป (งู, สัตว์เลื้อยคลาน, เสือกไป) สปฺป+สิ 

ทุฏฺโฐ (ชั่ว, เลว, ร้าย, ดุ) ทุฏฺฐ+สิ

ขโล (คนพาล, คนชั่ว) ขล+สิ

ทุฏฺโฐ (ชั่ว, เลว, ร้าย, ดุ) ทุฏฺฐ+สิ

สปฺปา (กว่างู) สปฺป+สฺมา (* เดิมเป็น สปฺโป แก้เป็น สปฺปา )

ทุฎฺฐตโร (ร้ายกว่า) ทุฏฺฐ+ตร ปัจจัยในวิเสสตัทธิต > ทุฏฺฐตร+สิ 

ขโล (คนพาล, คนชั่ว) ขล+สิ

มนฺโตสเธหิ (ด้วยโอสธคือมนต์ ., มนต์และโอสถ .) มนฺต (มนต์, คาถา) +โอสธ (ยา, โอสถ) > มนฺโตสธ+หิ, วิ. มนฺโต เอว โอสธํ มนฺโตสธํ (โอสธคือมนต์ ชื่อว่า มนฺโตสธ)

โส (...นั้น) +สิ สัพพนาม 

เกนุปสมฺมติ ตัดบทเป็น เกน+อุปสมฺมติ (ด้วย...อะไร+ย่อมเข้าไปสงบ, ย่อมถึงความสงบ, สงบนิ่ง, ระงับ, สยบ) , เกน = กึ+นา, อุปสมฺมติ = อุป+√สม++ติ ทิวาทิ. กัตตุ.



......ในพระบาฬีมหานิทเทศ ท่านพระสารีบุตรเถระได้อธิบายศัพท์เกี่ยวกับงู มี ๑๒  ศัพท์ คือ สปฺป (ผู้เสือกไป), อหิ, ภุชค (ผู้ขนดไป), อุรค (ผู้ไปด้วยอก), ปนฺนค (ผู้มีหัวตกไป), สิริสป, สรึสป (ผู้นอนด้วยหัว), วิลาสย (ผู้นอนในรู), คุหาสย (ผู้นอนในถ้ำ), ทาฒาวุธ (ผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ), โฆรวิส (ผู้มีพิษร้ายแรง), ทุชิวฺหา (ผู้มีลิ้นสองแฉก), ทิรสญฺญู (ผู้ลิ้มรสด้วยลิ้นสองแฉก).  ซึ่งมีบาฬีและคำแปลดังนี้.


[๑๓]  สปฺปสฺเสว  ปทา  สิโรติ  สปฺโป  วุจฺจติ  อหิ (ผู้ไม่มีเท้าไป)  เกนตฺเถน สปฺโป   สํสปฺปนฺโต  คจฺฉตีติ  สปฺโป    ภุชนฺโต  คจฺฉตีติ  ภุชโคฯ อุเรน   คจฺฉตีติ   อุรโคฯ   ปนฺนสิโร  คจฺฉตีติ  ปนฺนโคฯ  สิเรน

 สุปตีติ   สิริสโปฯ   วิเล  สยตีติ  วิลาสโยฯ  คุหายํ  เสตีติ คุหาสโยฯ   ทาฒา   ตสฺส   อาวุโธติ   ทาฒาวุโธฯ  วิสํ  ตสฺส โฆรนฺติ   โฆรวิโสฯ   ชิวฺหา   ตสฺส   ทุวิธาติ   ทุชิวฺหาฯ  ทฺวีหิ ชิวฺหาหิ   รสํ   สายตีติ   ทิรสญฺญูฯ  ยถา  ปุริโส  ชีวิตุกาโม อมริตุกาโม    สุขกาโม    ทุกฺขปฏิกูโล   ปาเทน   สปฺปสิรํ   วชฺเชยฺย วิวชฺเชยฺย   ปริวชฺเชยฺย  อภินิวชฺเชยฺย  เอวเมว  สุขกาโม  ทุกฺขปฏิกูโล กาเม วชฺเชยฺย    วิวชฺเชยฺย     ปริวชฺเชยฺย    อภินิวชฺเชยฺยาติ สปฺปสฺเสว ปทา สิโรฯ


(คำแปล)

 [๑๓] คำว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า มีความว่า งูเรียกว่าสัปปะ. เพราะอรรถว่าอะไร งูจึงเรียกว่าสัปปะ. เพราะอรรถว่าเสือกไป งูจึงเรียกว่าสัปปะ. เพราะอรรถว่าขนดไป งูจึงเรียกว่าภุชคะ.  เพราะอรรถว่าไปด้วยอก งูจึงเรียกว่าอุรคะ. เพราะอรรถว่ามีหัวตกไป งูจึงเรียกปันนคะ เพราะอรรถว่านอนด้วยหัว งูจึงเรียกว่าสิริสปะ. เพราะอรรถว่านอนในรู งูจึงเรียกว่าวิลาสยะ. เพราะอรรถว่านอนในถ้ำ งูจึงเรียกว่าคุหาสยะ. เพราะอรรถว่ามีเขี้ยวเป็นอาวุธ งูจึงเรียกว่าทาฒาวุธ. เพราะอรรถว่ามีพิษร้ายแรง งูจึงเรียกว่าโฆรวิสะ. เพราะอรรถว่ามีลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่าทุชิวหา. เพราะอรรถว่าลิ้มรสด้วยลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่าทิรสัญญู.

 บุรุษผู้ใคร่ต่อชีวิต ไม่อยากตาย อยากได้สุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น หลีก เลี้ยว อ้อมหนีหัวงูด้วยเท้า ฉันใด บุคคลผู้รักสุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น หลีกเลี่ยง อ้อมหนีกามทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า.



…..พระบาฬีนี้ คัมภีร์สัททนีติ ธาตุมาลา ปริจเฉทที่ ๑๖ ก็ได้อ้างถึงเหมือนกัน ดังมีข้อความตอนหนึ่ง ดังนี้ว่า 


อยํ ปาฬิ นิทสฺสนํฯ สปฺโปติ สปฺปตีติ สปฺโป, สํสปฺปนฺโต คจฺฉตีติ อตฺโถฯ เตนาห อายสฺมา สาริปุตฺโต ‘‘โย กาเม ปริวชฺเชติ, สปฺปสฺเสว ปทาสิโร’’ติ อิมิสฺสา ปาฬิยา นิทฺเทเส ‘‘สปฺโป วุจฺจติ อหิฯ เกนฏฺเฐน สปฺโป? สํสปฺปนฺโต คจฺฉตีติ สปฺโปฯ ภุชนฺโต คจฺฉตีติ ภุชโคฯ อุเรน คจฺฉตีติ อุรโคฯ ปนฺนสิโร คจฺฉตีติ ปนฺนโคฯ สรีเรน สปฺปตีติ สรีสโปฯ พิเล สยตีติ พิลาสโยฯ ทาฐา ตสฺส อาวุโธติ ทาฐาวุโธฯ วิสํ ตสฺสโฆรนฺติ โฆรวิโสฯ ชิวฺหา ตสฺส ทุวิธาติ ทุชิวฺโหฯ ทฺวีหิ ชิวฺหาหิ รสํ สายตีติ ทฺวิรสญฺญู’’ติฯ


(คำแปล) 

มีพระบาฬีนี้ เป็นตัวอย่างฯ บทว่า สปฺโป คือ งู เพราะอรรถว่า ย่อมไป, ความว่า ย่อมเสือกตัวไปฯ เพราะฉะนั้น ท่านพระสารีบุตร จึงกล่าวว่า อหิ (งู) อันพระผู้มีพระภาคเจ้า เรียกว่า สปฺโป ในนิทเทสแห่งพระบาฬีนี้ ว่า โย กาเม ปริวชฺเชติ, สปฺปสฺเสว ปทสิโร ดังนี้ฯ ถามว่า งู เรียกว่า สัปปะ เพราะอรรถว่าอย่างไร? ตอบว่า งูเรียกว่าสัปปะ เพราะอรรถว่า เลื่อยไปฯ เรียกว่า ภุชคะ เพราะอรรถว่า แผ่ไป(ขนดไป) เรียกว่า อุรคะ เพราะไปด้วยอกฯ เรียกว่า ปันนคะ เพราะหัวตกไปฯ เรียกว่า สรีสปะ เพราะอรรถว่าไปด้วยสรีระฯ เรียกว่า พิลาสยะ เพราะอรรถว่าอยู่ในรูฯ เรียกว่า ทาฐาวุธะ เพราะอรรถว่ามีเขี้ยวเป็นอาวุธฯ เรียกว่า โฆรวิสะ เพราะอรรถว่า มีพิษกล้าฯ เรียกว่า ทุชิวหะ เพราะอรรถว่า มีลิ้นสองแฉกฯ เรียกว่า ทฺวิรสัญญู เพราะอรรถว่า ผู้ลิ้มรสด้วยลิ้นสองแฉกฯ


..


 

Keine Kommentare: