๗๓. ผู้ประทุษร้าย ๔
ฆเร ทุฎฺโฐ จ มูสิโก, วเน ทุฎฺโฐ จ วานโร,
สกุเณ จ ทุฎฺโฐ กาโก, นเร ทุฎฺโฐ จ พฺราหฺมโณฯ
“หนูประทุษร้ายในบ้าน,
ลิงประทุษร้ายในป่า,
กาประทุษร้ายในหมู่นก,
พราหมณ์ประทุษร้ายในหมู่คน.“
(โลกนีติ หมวดคนพาล คาถาที่ ๗๓, ธัมมนีติ ๑๔๐, กวิทัปปณนีติ ๒๑๓)
..
ศัพท์น่ารู้ :
กาโก (นกกา, อีกา) กาก+สิ, แปลง สิ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า โส. (รู ๖๖),
วิ. ’‘กา’’อิติ สทฺทํ กายตีติ กาโกฯ (สัตว์ใด ย่อมร้องว่า กา ๆ เหตุนั้น สัตว์นั้น ชื่อว่า กา). จากอภิธาน-ฏีกา คาถา ๖๓๘.
ฆเร (ในบ้าน, ในเรือน, ในที่อาศัย) ฆร+สฺมึ, นป., ฆร เป็นนามกิตก์ มาจาก คห-อุปาทาเน+ณ วิ. คยฺหตีติ ฆรํ (ชื่อว่า ฆร เพราะอรรถว่ ถูกถือเอา, ถูกจับจอง) ลง ณ ปัจจัย ด้วยสูตรว่า ธาตุยา กมฺมาทิมฺหิ โณ. (รู๕๖๑) = คห+ณ, แปลง คห เป็น ฆร ด้วยสูตร - “คหสฺส ฆร เณ วา.“ (รู ๕๘๔) = ฆร + ณ, ลบ ณ ปัจจัย ด้วยสูตร – การิตานํ โณ โลปํ. (รู ๕๒๖) = ฆร, ตั้งเป็นนาม, ลง สฺมึ = ฆร+สฺมึ, แปลง สฺมึ เป็น เอ ด้วยสูตรว่า สฺมาสฺมึนํ วา. (รู ๙๐) = ฆร+เอ, แยก ลบ รวมสำเร็จรูปเป็น ฆเร
ทุฏฺโฐ (อันโทษประทุษร้ายแล้ว, ชั่ว, เลว, ร้าย, เกเร) ทุส+ต > ทุฏฺฐ+สิ
มูสิโก (หนู) มูสิก+สิ,จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาต
วเน (ในป่า) วน+สฺมึ, แปลง สฺมึ เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สฺมาสฺมึนํ วา. (รู ๙๐)
วานโร (ลิง, วานร) วานร+สิ, วิ. นโร อิว = วานโร, วาสทฺโท อิวตฺเถ, นามานํ ยุตฺตตฺถตฺตา สมาโสฯ (สัตว์ที่เหมือนคน ชื่อว่า วานร, วาศัพท์ใช้ในอรรถว่าเหมือน, จัดศัพท์สมาส เพราะอรรถชื่อประกอบกัน). จากอภิธาน-ฏีกา คาถา ๖๑๔.
สกุเณ (ในนก, ในหมู่นก) สกุณ+สฺมึ
นเร (ในคน, ในหมู่มนุษย์) นร+สฺมึ
พฺราหฺมโณ (พราหมณ์) พฺราหฺมณ+สิ, คำว่า พราหมณ์ ในที่นี้ น่าจะหมายถึง คนพาล.
ส่วนในธัมมนีติ คาถา ๑๔๐ มีข้อความคล้ายกันดังนี้.
กาโก ทุฏฺโฐ สกุเณสุ, ฆเร ทุฏฺโฐ จ มูสิโก;
วานโร จ วเน ทุฏฺโฐ, มนุสฺเสสุ จ พฺรหฺมโณฯ
„อีกาคือผู้ร้ายในหมู่นก
หนูคือผู้ร้ายในเรือน
ลิงคือผู้ร้ายในป่า
พราหมณ์(ชั่ว)คือผู้ร้ายในหมู่มนุษย์.“
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen