Samstag, 9. April 2022

๗๕.โทษคนอื่นเห็นง่าย ของตนเห็นยาก

๗๕. โทษคนอื่นเห็นง่าย ของตนเห็นยาก


ติลมตฺตํ ปเรสํว, อปฺปโทสญฺจ ปสฺสติ;

นาฬิเกรมฺปิ สโทสํ, ขลชาโต ปสฺสติฯ


คนพาล ย่อมเห็นโทษอันเล็กน้อย 

ขนาดเท่าเมล็ดงา ของคนอื่นนั่นเทียว, 

แต่เขาย่อมมองไม่เห็นโทษของตน

แม้จะใหญ่เท่าผลมะพร้าวเลย.“


(โลกนีติ หมวดคนพาล คาถาที่ ๗๕, ธัมมนีติ ๓๕๑, กวิทัปปณนีติ ๒๑๕)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ติลมตฺตํ (เพียงเท่าเม็ดงา) ติล+มตฺต > ติลมตฺต+อํ

ปเรสว: ตัดบทเป็น ปเรสํ+เอว (ของคนเหล่าอื่น+นั่นเทียว, เท่านั้น), ปร+นํ = ปเรสํ (ของคนอื่น .) สัพพนาม. เอว ศัพท์เป็นนิบาต

อปฺปโทสญฺจ ตัดบทเป็น อปฺปโทสํ+ (ซึ่งโทษเล็กน้อยด้วย), อปฺป (น้อย, นิดหน่อย, เล็ก) + โทส (โทษ, ข้อบกพร่อง) > อปฺปโทส+อํ.

ปสฺสติ (ย่อมเห็น) ทิส++ติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ทิส เป็น ปสฺส ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ทิสสฺส ปสฺสทิสฺสทกฺขา วา.​ (รู ๔๘๓)

นาฬิเกรมฺปิ: ตัดบทเป็น นาฬิเกรํ+อปิ (แม้เท่าลูกมะพร้าว) นาฬิเกร+อํ (ซึ่งลูกมะพร้าว)

สโทสํ: (โทษของตน) สก (ของตน)+โทส (โทษ, ข้อพกพร่อง) > สโทส+อํ, วิ. สกสฺส อตฺตโน โทโส สโทโส. (โทษของตน ชื่อว่า สโทสะ) 

ขลชาโต: (ชาติชองคนพาล, คนเลวชาติ, คนพาล) ขล+ชาต > ขลชาต+สิ, ศัพท์ว่าขลในพจนานุกรมบาลี-ไทย ท่านแปลว่า ลานข้าว, ตะกอน, ผงละเอียด, ความชั่ว. ส่วนในสัททนีติ ธาตุมาลา ท่านว่ามาจาก ขล-จลเน ในความหวั่นไหว กิริยาศัพท์ ขลติ (ย่อมหวั่นไหว), นามศัพท์เป็น ขโล. ให้ความหมายว่า ขโลติ ทุชฺชโน อสาธุ อสปฺปุริโส ปาปชโนฯ แปลว่า คำว่า ขล ได้แก่ ทุรชน, คนไม่ดี, อสัตบุรุษ, คนชั่ว.

: (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบท


..


 

Keine Kommentare: