๗๖. เต่าซ่อนอวัยวะ
นตฺตโทสํ ปเร ชญฺญา, ชญฺญา โทสํ ปรสฺส ตุ;
คุยฺเห กุมฺโมว องฺคานิ, ปรโทสญฺจ ลกฺขเยฯ
„คนพาลไม่ทราบโทษของตน
แต่กลับไปทราบโทษของผู้อื่น
และชอบกำหนดโทษของผู้อื่น
เหมือนเต่าซ่อนอวัยวะทั้งหลายไว้ ฉะนั้น.“
(โลกนีติ หมวดคนพาล คาถาที่ ๗๖, ธัมมนีติ ๒๒๗, กวิทัปปณนีติ ๒๑๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
นตฺตโทสํ ตัดบทเป็น น+อตฺตโทสํ, น (ไม่, หามิได้)+ อตฺตโทสํ (โทษของตน) อตฺต+โทส > อตฺตโทส+อํ ปเร: (ในผู้อื่น, อันอื่น, ต่าง, ภายนอก) ปร+สฺมึ
ชญฺญา (พึงรู้, ควรรู้, ควรเห็น, ทราบ) √ญา+นา+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ., แปลง ญาธาตุ เป็น ชํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ญาสฺส ชาชํนา. (รู ๕๑๔) = ชํ+นา+เอยฺย, แปลง เอยฺย เป็น ญา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า เอยฺยสฺส ญาโต อิยาญา. (รู ๕๑๕) = ชํ+นา+ญา, ลบ นา ปัจจัย ไดบ้าง ด้วยสูตรว่า นาสฺส โลโป ยการตฺตํ. (รู ๕๑๖) = ชํ+ญา, แปลงนิคคหิตเป็นที่สุดวรรค ด้วยสูตรว่า วคฺคนฺตํ วา วคฺเค. (รู ๔๙) = ชญฺญา.
โทสํ (โทษ, ความผิด) โทส+อํ
ปรสฺส (ของคนอื่น) ปรสฺส (ของคนอื่น) ปร+ส สัพพนาม
ตุ (ส่วน, แต่) เป็นนิบาต
คุยฺเห (
กุมฺโมว ตัดบทเป็น กุมฺโม+อิว (เหมือนเต่า) กุมฺม+สิ, ในอภิธาน-ฏีกา ท่านแสดงศัพท์ที่เป็นชื่อเต่าไว้ ๒ ศัพท์ คือ กจฺฉป (ผู้ดื่มด้วยจักเร้) และ กุมฺม (ผู้มีความช้า, ผู้ไปช้า). วิ. กุจฺฉิโต อูมิ เวโค อสฺส กุมฺโม. (สัตว์ที่มีความเร็วแย่ ชื่อว่า กุมฺม). ศัพท์นี้เป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์และอิตถีลิงค์.
องฺคานิ (องค์, อวัยวะ ท.) องฺค+โย, (หมายเหตุ: บาทคาถาที่ ๓ นี้ ในกวิทัปปณนีติ เป็น „คุยฺโห กุมฺมาว องฺคานิ“. ในธัมมนีติ เป็น กุมฺโม คุยฺหา อิวงฺคานิ ส่วนในโลกนีตินี้ เดิมเป็น „คุยฺเห กุมฺโม องฺคานิ“ ได้แก้เป็น คุยฺเห กุมฺโมว องฺคานิ เพื่อความเหมาะสม แม้ในโลกนีติไตรพากย์ ก็เป็น „ คุยฺเห กุมฺมาว องฺคานิ“. )
ปรโทสญฺจ ตัดบทเป็น ปรโทสํ+จ (โทษของผู้อื่น+ด้วย) ส่วนในธัมมนีติ เป็น ปรภาวญฺจ (และภาวะของผู้อื่น)
ลกฺขเย: (กำหนด, สังเกต, หมายรู้) √ลกฺข+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ.
......ส่วนในธัมมนีติ คาถา ๒๒๗ มีข้อความต่างกันนิดหน่อย ดังนี้
นตฺตโทสํ ปเร ชญฺญา, ชญฺญา โทสํ ปรสฺส ตุ;
กุมฺโม คุยฺหา อิวงฺคานิ, ปรภาวญฺจ ลกฺขเยฯ
„คนพาลไม่ทราบโทษของตนในผู้อื่น
แต่กลับไปทราบโทษของผู้อื่น
และคอยกำหนดภาวะของผู้อื่น
เหมือนเต่าซ่อนอวัยวะทั้งหลายไว้ ฉะนั้น.“
หากไม่คำนึงถึงคนพาล อาจจะแปลเป็นอย่างอื่นได้อีกว่า ว่า
„คนฉลาด ไม่พึงให้คนอื่นรู้โทษของตน
แต่ควรศึกษาโทษของผู้อื่น
และพึงสังเกตโทษของผู้อื่น
เหมือนเต่าซ่อนหัวในกระดอง ฉะนั้น.“
(คาถาแปลค่อนข้างหน่อย ความหมายอาจผิดจากความเป็นจริงก็ได้ ขออภัยล่วงหน้า.)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen