๗๗. คำยกย่องที่มีค่าต่างกัน
ปณฺฑิตสฺส ปสํสาย, ทณฺโฑ พาเลน ทียเต;
ปณฺฑิโต ปณฺฑิเตเนว, วณฺณิโตว สุวณฺณิโต ฯ
“คนพาลให้โทษแก่บัณฑิต
ด้วยการยกย่องเยินยอ,
บัณฑิตอันบัณฑิตเท่านั้นยกย่องกัน
จึงชื่อว่าได้รับการยกย่องโดยชอบ.“
(โลกนีติ หมวดคนพาล คาถาที่ ๗๗, มหารหนีติ ๑๖, ธมฺมนีติ ๓, กวิทปฺปณนีติ ๔๘)
..
ศัพท์น่ารู้ :
คาถานี้ แบ่งเป็น ๒ ประโยค
๑) ปณฺฑิตสฺส ปสํสาย, ทณฺโฑ พาเลน ทียเต;
แปล. ทณฺโฑ อ. อาชญา พาเลน อันคนพาล ทียเต ย่อมให้ ปณฺฑิตสฺส แก่บัณฑิต ปสํสาย เพราะการสรรเสริญ.
๒. ปณฺฑิโต ปณฺฑิเตเนว, วณฺณิโตว สุวณฺณิโต
แปล. ปณฺฑิโต อ. บัณฑิต ปณฺฑิเตเนว อันบัณฑิตนั่นเทียว วณฺณิโตว ยกย่องแล้วเทียว
สุวณฺณิโต (ชื่อว่า) เป็นผู้ถูกยกย่องแล้วด้วยดี (โหติ ย่อมเป็น).
ปณฺฑิตสฺส (แก่บัณฑิต) ปณฺฑิต+ส
ปสํสาย (ด้วยการสรรเสริญ, ยกย่อง, ชมเชย) ปสํสา+สฺมึ, แปลง สฺมึ เป็น อาย ด้วยสูตรว่า ฆโต นาทีนํ. (รู ๑๗๙)
ทณฺโฑ (ทัณฑ์, อาชญา, โทษ, ท่อนไม้) ทณฺฑ+สิ
พาเลน (อันคนพาล) พาล+นา
ทียเต (ย่อมให้) ทา+ย+เต ภูวาทิ. กัมม. ในเพราะ ย ปัจจัจให้แปลงสระที่สุดธาตุเป็น อี ด้วยสูตรว่า ยมฺหิ ทาธามาฐาหาปามหมถาทีนมี. (รู ๔๙๓)
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้ฉลาด) ปณฺฑิต+สิ
ปณฺฑิเตเนว ตัดบทว่า ปณฺฑิเตน+เอว (อันบัณฑิตนั่นเทียว, อันบัณฑิตเท่านั้น) ปณฺฑิต+นา, เอว เป็นนิบาตกำหนด, ตัดสิน, จำกัดความ (อวธารณ).
วณฺณิโตว ตัดบทว่า วณฺณิโต+เอว (ยกย่อง, สรรเสริญ, ชมเชยนั่นเทียว) วณฺณ+อิ+ต > วณฺณิต+สิ
สุวณฺณิโต (ผู้ถูกสรรเสริญด้วยดี, -ยกย่องโดยชอบ) สุ+วณฺณิต > สุวณฺณิต+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen