๘๒. ตำราดูคนใกล้ตัว
ชาเนยฺย เปเสน ภจฺจํ, พนฺธุํ วาปิ ภยาคเต,
*อาปทาสุ ตถา มิตฺตํ, ทารญฺจ วิภวกฺขเยฯ
“พึงรู้ลูกจ้าง ยามใช้สอยทำการงาน,
พึงรู้ญาติวงศ์วาน ยามมีภัยประชิด,
พึงรู้สหายมิตร ยามยากจนอนาถา,
พึงรู้ภริยา ยามสิ้นเนื่อประดาตัว.“
(โลกนีติ หมวดมิตร คาถาที่ ๘๒, ธัมมนีติ ๒๕๕, มหารหนีติ ๑๘๓, กวิทัปปณนีติ ๒๓๖, จาณักยนีติ ๒๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ชาเนยฺย (พึงรู้, ทราบ, เข้าใจ) ญา+นา+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ. บางคัมภีร์ เป็น ชานิยา แปลเหมือนกัน, หลักทำตัวรูป ชาเนยฺย (รู้, ทราบ) ญา+นา+เอยฺย เป็นกิริยาอาขยาต มาจาก ญา-อวโพธเน ธาตุในความรู้ + นา ปัจจัย หมวดกีธาตุ + เอยฺย สัตตมีวิภัตติ, ปรัสสบท, ปฐมบุรุษ, เอกพจน์, แปลง ญา เป็น ชา ด้วยสูตร – “ญาสฺส ชาชํนา.
(แปลว่า) ให้แปลง ญา ธาตุเป็น ชา-ชํ-นา ได้บ้าง (รู ๕๑๔) = ชา+นา+เอยฺย
ในเพราะ เอ หลังลบสระหน้าด้วยสูตร – สรา สเร โลปํ. (แปลว่า) เพราะสระหลัง ให้ลบสระหน้า (รู ๑๓).
เปเสน (ด้วยการรับใช้, ด้วยการใช้สอย, การส่งไป) เปสน+นา, บางคัมภีร์เป็น เปสเน (ในการส่งไป, ในเพราะใช้สอย).
ภจฺจํ (ลูกจ้าง, คนใช้) ภจฺจ+อํ บางคัมภีร์เป็น ภจฺเจ เป็นพหูพจน์
พนฺธุํ (ซึ่งญาติ, พวกพ้อง, เผ่าพันธุ์) พนฺธุ+อํ, คัมภีร์ธัมมนีติ เป็น พนฺธวํปิ เอกพจน์, ส่ในกวิทัปปณนีติและจาณักยนีติ เป็น พนฺธเว เป็นพหูพจน์.
วาปิ (แม้บ้าง) = วา+อปิ เป็นนิบาต, สมูหนิบาต
ภยาคเต (ในการมาแล้วแห่งภัย, เมื่อเวลามีภัย) ภย+อาคต > ภยาคต+สฺมึ ในธัมมนีติ เป็น ภยาคเม, ในกวิทัปปณนีติ เป็น พฺยสนาคเม (ในคราวถึงภัยพิบัติ) พฺยาสน+อาคม > พฺยาสนาคม+สฺมึ,
*อาปทาสุ เดิมเป็น อปฺปกาสุ (?) แก้เป็น อาปทาสุ, ตามอย่างในมหารหนีติ, อาปทาสุ (ในความวิบัติ, เคราะห์ร้าย, อันตราย ท.) อาปทา+สุ, ในธัมมนีติ เป็น พฺยสเน (ฉิบหาย, วอดวาย, โชคร้าย, เสื่อม), ในกวิทัปปณนีติ เป็น อาปทิกาเล.
ตถา (ด้วย ก็เหมือนกัน) นิบาต
มิตฺตํ (ซึ่งมิตร, เพื่อน, สหาย, เกลอ) มิตฺต+อํ
ทารญฺจ (ซึ่งทาระ, ภรรยา) ตัดบทเป็น ทารํ+จ บางคัมภีร์ เป็น ภริยญฺจ มีความหมายเหมือนกัน.
วิภวกฺขเย (ในเวลาสิ้นทรัพย์, -หมดเนื้อประดาตัว) วิภว (ทรัพย์, สมบัติ, ความเจริญ) +ขย (สิ้น, เสื่อม) > วิภวกฺขย+สฺมึ, + ขย (ความเสื่อม, สิ้นไป) > วิภวกฺขย+สฺมึ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen