Montag, 1. August 2022

๘๓. คนรอบตัวที่ควรรู้

๘๓. คนรอบตัวที่ควรรู้


โส พนฺธุ โย หิเต ยุตฺโต, ปิตโร โหนฺติ โปสโก;

ตํ มิตฺตํ ยตฺถ วิสฺสาโส, สา ภริยา ยสฺส นิพฺพูติฯ


คนที่ทำประโยชน์ให้ ชื่อว่า ญาติ,

คนที่เลี้ยงดู ชื่อว่า พ่อแม่

คนที่สนิทสนมกัน ชื่อว่า มิตร

คนที่ให้ความเย็นใจ ชื่อว่า ภริยา.“


(โลกนีติ หมวดมิตร คาถาที่ ๘๓, มหารหนีติ ๑๔๔, ธัมมนีติ ๑๘๘)


..


ศัพท์น่ารู้ :


คาถานี้มี บาทคาถา แบ่งเป็น ประโยคย่อย กล่าวคือ มีประโยค ประโยค , ถ้าแปลเอาความต้องแปลล้มประโยค , . ถ้าแปลยกศัพท์ต้องแปลทีละประโยค ดังนี้.


โส พนฺธุ โย หิเต ยุตฺโต, 


โย (ปุคฺคโล) . บุคคลใด ยุตฺโต ประกอบแล้ว หิเต ในประโยชน์เกื้อกูล, โส (ปุคฺคโล) . บุคคลนั้น พนฺธุ เป็น ญาติ, (โหติ) ย่อมเป็น. 

แปลเอาความว่า:  คนให้ความช่วยเหลือ ชื่อว่า ญาติ.


ปิตโร โหนฺติ โปสโก;


โย (ปุคฺคโล) . บุคคลใด โปสโก เป็นผู้เลี้ยงดู (โหติ) ย่อมเป็น, โส (ปุคฺคโล) . บุคคลนั้น พนฺธุ เป็น ญาติ, (โหติ) ย่อมเป็น. 

แปลเอาความว่า: คนที่เลี้ยงดูเรา ชื่อว่า พ่อแม่. 


ตํ มิตฺตํ ยตฺถ วิสฺสาโส, 


วิสฺสาโส . ความคุ้นเคย ยตฺถ (ปุคฺคเล) ในบุคคลใด (อตฺถิ) มีอยู่, ตํ (ปุคฺคลชาตํ) . บุคคลนั้น มิตฺตํ เป็นมิตร (โหติ) ย่อมเป็น.

แปลเอาความว่า: คนที่สนิทสนมกัน ชื่อว่า มิตร (เพื่อน).


สา ภริยา ยสฺส นิพฺพูติ


  ก็ นิพฺพูติ . ความดับ (= เย็นใจ) (อตฺถิ) มีอยู่ ยสฺส (= ยตฺถ) ในหญิงใด, สา (อิตฺถี) . หญิงนั้น ภริยา ชื่อว่า เป็น ภริยา (โหติ) ย่อมเป็น.

แปลเอาความว่า: หญิงที่ให้ความเย็นใจ ชื่อว่า ภริยา.


(หมายเหตุ ที่แปลนี้เป็นการแปลพอเป็นแนวทางแก่นักศึกษาใหม่ พอเป็นแนวทาง อาจไม่ตรงตามกฏเกณฑ์ทั่วไป)





โส (นั้น,​ เขา, ผู้นั้น) +สิ สัพพนาม

พนฺธุ (พวกพ้อง, ญาติ, เผ่าพันธุ์) พนฺธุ+สิ

โย (ผู้ใด) +สิ สัพพนาม (แต่ในมหารหนีติ เป็น โส น่าจะถูกต้องกว่า) 

หิเต (ในประโยชน์เกื้อกูล, หิตประโยชน์) หิต+สฺมึ

ยุตฺโต (ประกอบแล้ว) √ยุช+ > ยุตฺต+สิ

ปิตโร (พ่อและแม่, บิดาและมารดา) ปิตุ+โย, ศัพท์นี้จัดเป็น เอกเสสสมาส (ย่อให้เหลือศัพท์เดียว หรือ วิรูเปกเสสสัททะ ศัพท์ที่คงไว้ศัพท์หนึ่งที่ไม่เหมือนกัน) วิ. มาตา ปิตา ปิตโร. มหารหนีติและธัมมนีติ เป็น ปิตา.

โปสโก (ผู้เลี้ยงดู) √ปุส-โปเส+ณฺวุ > โปสก+สิ, แปลง ณฺวุ เป็น อก ด้วยสูตรว่า อนกา ยุณฺวูนํ. (รู ๕๗๐)

ตํ (นั้น) +สิ 

มิตฺตํ (มิตร, เพื่อน) มิตฺต+สิ นป.

ยตฺถ (ในผู้ใด) + ปัจจัยในอรรถสัตตมีวิภัตติ ซ้อน ตฺ = ยตฺถ

วิสาโส (ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม, วิสาสะ) วิสาส+สิ

ภริยา (ภริยา, เมีย) ภริยา+สิ 

ยตฺถ (ในผู้ใด) + 

นิพฺพูติ, นิพฺพุติ (ความดับ, ความเย็น) นิพฺพุติ+สิ, บาทคาถาสุดท้ายนี้ รู้สึกจะเกินมาสองคำ, บางคัมภีร์เป็น สา ภริยา นิพฺพุติฯ ก็มี.


..


 

Keine Kommentare: