๘๔. อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน
น วิสฺสเส อวิสฺสตฺตํ, มิตฺตญฺจาปิ น วิสฺสเส;
กทาจิ กุปิโต มิตฺโต, สพฺพํ โทสํ ปกาสเยฯ
„ไม่ควรไว้เนื้อเชื่อใจคนที่ไม่คุ้นเคยกัน
แม้เป็นเพื่อน ก็ไม่ควรไว้ใจเกินไป
เพราะบางครั้งเพื่อนเกิดขัดเคืองใจ
เขาพึงเปิดโปรงโทษทั้งปวงของเราได้.“
(โลกนีติ หมวดมิตร คาถาที่ ๘๔, กวิทัปปณนีติ ๒๓๘, ธัมมนีติ ๒๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
วิสฺสเส (พึงวิสาสะ, ใกล้ชิด, สนิทสนม, คุ้นเคย) วิ+√สส+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
อวิสฺสตฺตํ (คนที่ไม่คุ้นเคยกัน, คนแปลกหน้า) น+วิสฺสตฺต > อวิสฺสตฺต+อํ, ในกวิทัปปณนีติ เป็น อมิตฺตสฺส: (คนไม่ใช้มิตร, อมิตร) อมิตฺต+ส ลง ฉัฏฐีวิภัตติในอรรถทุติยาวิภัตติ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ทุติยาปญฺจมีนญฺจ. (รู ๓๑๘), ในจาณักยนีติ เป็น อวิสฺสตฺถํ.
มิตฺตญฺจาปิ ตัดบทเป็น มิตฺตํ+จ+อปิ (และแม้มิตร) มิตฺต+อํ = มิตฺตํ (มิตร, เพื่อน), จ และ อปิ เป็นนิบาต
กทาจิ (ในกาลบางคราว) กึ+ทา+จิ
กุปิโต (โกรธ, ขุ่นเคือง) กุปิต+สฺมึ
มิตฺโต (มิตร, เพื่อน) มิตฺต+สิ, ในกวิทัปปณนีติ เป็น กุปิเต มิตฺเต. ในจาณักยนีติ เป็น กุปิตํ มิตฺตํ.
สพฺพํ (ทั้งปวง, ทั้งหมด, สรรพ) สพฺพ+อํ, สัพพนาม.
โทสํ (ซึ่งโทษ, ความไม่ดี) สพฺพโทส+อํ, บางคัมภีร์เป็นสมาส สพฺพโทสํ.
ปกาสติ (ย่อมประกาศ, เปิดเผย, แฉ, เปิดโปง) ป+√กาส+ณย+เอยฺย จุราทิคณะ กัตตุวาจก, ลบ ณ อนุพันธ์ ด้วยสูตรว่า การิตานํ โณ โลปํ. (รู ๕๒๖) = ป+กาส+ย+เอยฺย, แปลง เอยฺย เป็น เอ ได้บ้าง. ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘) = ป+กาส+ย+เอ, รวมสำเร็จรูปเป็น ปกาสเย
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen