๘๕. ผู้เสี่ยงต่อมัจจุราช
สกึ ทุฎฺฐญฺจ โย มิตฺตํ, ปุน สนฺธิตุมิจฺฉติ;
โส มจฺจุํ อุปคณฺหาติ, คพฺภมสฺสตรี ยถาฯ
“ผู้ใดย่อมปรารถนาเชื่อมสัมพันธ์
กะมิตรที่ประทุษร้ายตนอีกครั้ง
ผู้นั้น กำลังจะเข้าไปยึดเอาความตาย
อุปมาเหมือนแม่ม้าอัสดรตั้งครรภ์ ฉะนั้น.“
(โลกนีติ หมวดมิตร คาถาที่ ๘๕, กวิทัปปณนีติ ๒๔๑, จาณักยนีติ ๑๙)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ฝึกแปลยกศัพท์วันละนิดนะครับ คาถนี้ แบ่งเป็น ๒ ประโยค ถ้ารวมทั้งประโยคอุปมา ก็เป็น ๓ ประโยค. (ก่อนแปลอย่าลืมตัดบทก่อนนะครับ)
๑.) สกึ ทุฎฺฐญฺจ โย มิตฺตํ, ปุน สนฺธิตุมิจฺฉติ;
จ ก็ โย (ชโน) ชนใด อิจฺฉติ ย่อมปรารถนา สนฺธิตุํ เพื่อเชื่อม มิตฺตํ ซึ่งมิตร ทุฏฺฐํ ผู้ประทุษร้าย (อตฺตานํ) ซึ่งตน ปุน สกึ อีกครั้ง.
๒.) โส มจฺจุํ อุปคณฺหาติ, คพฺภมสฺสตรี ยถาฯ
โส (ชโน) ชนนั้น อุปคณฺหาติ ย่อมเข้าไปถือเอา มจฺจุํ ซึ่งความตาย,
ยถา เปรียบเหมือน อสฺสตรี อ. แม้ม้าอัสดร (อุปคณฺหนฺโต) เข้าไปถือเอาอยู่ คพฺภํ ซึ่งการตั้งท้อง ฉะนั้น.
สกึ (ครั้งหนึ่ง) นิบาตบท (สงฺขฺยาวิภาค-จำแนกสังขยา)
ทุฎฺฐญฺจ ตัดบทเป็น ทุฏฺฐํ+จ (ก็, แท้จริง)
โย (...ใย) ย+สิ สัพพนาม
มิตฺตํ (ซึ่งมิตร, เพื่อน) มิตฺต+อํ
ปุน (อีกครั้ง) นิบาตบท
สนฺธิตุมิจฺฉติ: ตัดบทเป็น สนฺธิตุํ+อิจฺฉติ (ย่อมปรารถนาเพื่อทรงไว้), สนฺธาตุํ (เพื่ออันทรงไว้, ผูกสัมพันธ์, เชื่อม, ต่อ) สํ+√ธา+ตุํ; อิจฺฉติ (ปรารถนา, ต้องการ) อิสุ+อ+ติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก แปลงที่สุดธาตุ เป็น จฺฉ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (รู ๔๗๖), บางคัมภีร์ เป็น สนฺธาตุมิจฺฉติ, แยกเป็น สนฺธาตุํ+อิจฺฉติ.
ส = โส (...นั้น) ต+สิ สัพพนาม แปลง ต เป็น ส ด้วยสูตรว่า เอตเตสํ โต. (รู ๒๑๑), แปลง สิ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า โส. (รู ๖๖), ลบสระ โอ แล้วลง อ อาคม ด้วยสูตรว่า โลปญฺจ ตตฺรากาโร. (รู ๓๙)
มจฺจุมุปคณฺหาติ: ตัดบทเป็น มจฺจุํ+อุปคณฺหาติ (ย่อมเข้าไปถือเอาซึ่งความตาย, ย่อมยึดเอาความตาย, ตอแยกะพญามัจจราช)
มจฺจุํ (ความตาย, มัจจุ, มุจจุราช) มจฺจุ+อํ, อปุ+√คห+ณฺหา+ติ คหาทิคณะ กัตตุวาจก เพราะ ณฺหา ปัจจัย ให้ลบ ห อักษร ด้วยสูตรว่า หโลโป ณฺหามฺหิ. (รู ๕๑๘)
คพฺภมสฺสตรี ตัดบทเป็น คพฺภํ+อสฺสตรี
คพฺภํ: (ซึ่งครรภ์, การตั้งท้อง) คพฺภ+อํ
อสฺสตรี: (แม่ม้าอัสดร) อสฺสตรี+สิ, ในอภิธาน. ฏีกา คาถาที่ ๓๖๙. กล่าวความหมายและวิเคราะห์ไว้ว่า
ตสฺส อสฺสสฺส เภโท วิเสโส อสฺสตโร, อสฺสํ ตรตีติ อสฺสตโร, √ตร อติกฺกมเน, ตรปจฺจเยนาปิ สิทฺธํฯ
ม้าพันธ์พิเศษ ชือว่า อัสสดร, (วิเคราะห์ว่า) ที่ชือว่า ม้าอัสสดร เพราะอรรถว่า ย่อมก้าวล่วงม้าธรรมดา, สำเร็จรูปมาจาก ตร ธาตุในความก้าวล่วง, หรือ ตร ปัจจัยก็ได้.
ยถา: (ฉันใด, เหมือน) เป็นนิบาตบอกอุปมา
..
แม่ม้าอัศดร เป็นม้าที่แปลก หากตั้งท้องเมื่อไหร่ละก็ ตอนคลอดจะต้องสิ้นชีวิต เพราะถูกลูกในท้องถีบท้องแตกตายในที่สุด.
...สิ่งที่ฆ่าผู้ให้กำเนิด มี ๔ อย่าง คือ ผลกล้าย, ขุ่ยไผ่, ดอกอ้อ และ ลูกม้าอัศดร สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน พระไตรปิกเล่ม ๒๑ ข้อ ๖๘ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เทวทัตตสูตร (องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๖๘) ว่า
สมัยหนึ่ง เมื่อพระเทวทัตต์หลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค
ทรงปรารภพระเทวทัตต์ ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ
และการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตต์เพื่อฆ่าคน เพื่อความพินาศ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ต้นกล้วยย่อมเผล็ดผลเพื่อฆ่าตน เมื่อความพินาศ แม้ฉันใด ลาภ
สักการะ และการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตต์เพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้ไผ่ย่อมตกขุยเพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ
แม้ฉันใด ลาภ สักการะ และการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตต์เพื่อฆ่าคน
เพื่อความพินาศ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้อ้อย่อมผลิดอกเพื่อฆ่า
ตน เพื่อความพินาศ แม้ฉันใด ลาภ สักการะ และการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่
พระเทวทัตต์เพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แม่ม้าอัศดรย่อมตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ แม้ฉันใด ลาภ สักการะ
และการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตต์เพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ
และได้ตรัสเป็นคาถาไว้ว่า.
ผลํ เว กทลึ หนฺติ, ผลํ เวฬผลํ นฬํ;
สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ, คพฺโภ อสฺสตรึ ยถาฯ
„ผลกล้วยย่อมฆ่าต้นกล้วย, ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ดอกอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ, ลูกม้าอัศดรย่อมฆ่าแม่ม้าอัศดร ฉันใด
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว ฉันนั้น.“
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen