๘๖. รอเวลาอย่าใจร้อน
วเห อมิตฺตํ ขนฺเธน, ยาว กาโล อนาคโต;
ตเมว อาคเต กาเล, เสเล ภินฺเท ฆฏํ อิวฯ
„ผู้ฉลาดพึงยอมแบกศัตรูไว้ก่อน
ตราบเท่าที่เวลายังมาไม่ถึง
เมื่อเวลามาถึงแล้ว ค่อยทำลายมัน
ดุจคนเอาหม้อกะแทกที่ก้อนหิน ฉะนั้น.“
(โลกนีติ หมวดมิตร คาถาที่ ๘๖, มหารหนีติ ๒๓๒, ธัมมนีติ ๒๑๕)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ฝีกแปลวันละประโยคสองประโยค
๑.) วเห อมิตฺตํ ขนฺเธน, ยาว กาโล อนาคโต;
กาโล อ. เวลา อนาคโต ยังไม่มาถึง ยาว เพียงไร,
(ปุคฺคโล) อ. บุคคล วเห พึงนำไป อมิตฺตํ ซี่งศัตรู้ ขนฺเธน ด้วยบ่า (ตาว) เพียงนั้น.
๒.) ตเมว อาคเต กาเล, เสเล ภินฺเท ฆฎํ อิว.
กาเล ครั้นเมื่อเวลา อาคเต มาถึงแล้ว, (ปุคฺคโล) อ. บุคคล ภินฺเท พึงทำลาย ตํ (อมิตฺตํ) เอว ซึงศัตรูนั้น นั่นเทียว, อิว ราวกะ (ปุคฺคโล) อ. บุคคล (ภินฺทนฺโต) ทำลายอยู่ ฆฏํ ซึ่งหม้อ เสเล ที่แผ่นหิน ฉะนั้น.
วเห (หามไป, หาบไว้, แบกไว้, นำไป) √วห+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
อมิตฺตํ (ผู้ไม่ใช่มิตร, ศัตรู, ข้าศึก) น+มิตฺต > อมิตฺต+อํ
ขนฺเธน (ด้วยบ่า, กอง) ขนฺธ+นา
ยาว (ตราบ, จนถึง) นิบาต
กาโล (ในกาล, เวลา) กาล+สิ
อนาคโต (อันยังไม่มาถึง, อนาคต) น+อาคต > อนาคต+สิ, บางคัมภีร์เป็น กาเล อนาคเต.
ตเมว ตัดบทเป็น ตํ+เอว (ซึ่ง..นั้น, ซึงศัตรูนั้น+นั่นเทียว) ต+อํ สัพพนาม, เอว เป็นนิบาต
อาคเต กาเล (ครั่นเมื่อกาล มาถึงแล้ว, เมื่อเวลามาถึงแล้ว, เมื่อถึงเวลาแล้ว) เป็นประโยคลักษณะ, อนาคต+สฺมึ = อนาคเต. กาล+สฺมึ = กาเล. แปลง สฺมึ เป็น เอ ได้บ้าง.
เสเล (ที่ก้อนหิน, แผ่นหิน) เสล+สฺมึ
ภินฺเท (ทำลาย, ทุบ, ตี) √ภิทิ+อํ+อ+เอยฺย รุธาทิ. กัตตุ. ให้ลงนิคคหิตอาคม.
กุมฺภํว ตัดบทเป็น กุมฺภํ+อิว (หม้อดิน, ไห), กุมฺภ+อํ,
อิว (ดุจ, เหมือน, ราวกะ) เป็นนิบาตบอกอุปมา. บางคัมภีร์เป็น ภินฺเท กุมฺภํว สิลายํ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen