๘๗. สิ่งที่ควรจัดการอย่าให้เหลือ
อิณเสโส อคฺคิเสโส, สตฺรุเสโส ตเถว จ;
ปุนปฺปุนํ วิวฑฺฒนฺติ, ตสฺมา เสสํ น การเยฯ
„หนี้สินที่เหลือ ๑ ไฟที่เหลือ ๑
และโรคที่เหลือ ๑ ก็เช่นกัน,
ย่อมจะลุกลามบานปลายไปเรื่อย,
เหตุนั้น จึงควรจัดการอย่าให้เหลือ.“
(โลกนีติ หมวดมิตร คาถาที่ ๘๗, มหารหนีติ ๒๘๔, ธัมมนีติ ๒๓๗, กวิทปฺปณนีติ ๒๔๒, จาณกฺยนีติ ๔๐)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อิณเสโส (เศษคือหนี้, เศษแห่งหนี้, หนี้ที่เหลือ, เศษหนี้) อิณ (หนี้) +เสส (เหลือ, เศษ) > อิณเสส+สิ
อคฺคิเสโส (เศษคือไฟ, เศษแห่งไฟ, ไฟที่เหลือ, เศษไฟ) อคฺคิ (ไฟ, อัคคี) +เสส > อคฺคิเสส+สิ
สตฺรุเสโส (เศษคือศัตรู, เศษแห่งศัตรู, โรคที่เหลือ, เศษโรค) โรค (โรค, ความเจ็บป่วย) +เสส > โรคเสส+สิ, ในกวิทัปปณนีติ เป็น โรคเสโส (เศษคือโรค, -ความเจ็บป่วย), ในจาณักยนีติ เป็น พฺยาธิเสโส (เศษคือความเจ็บป่วย)
ตเถว (เหมือนอย่างนั้นเทียว, เหมือนกัน) ตถา+เอว เป็นสมูหนิบาต
จ (ด้วย, และ) นิบาต, ในมหารหนีติ เป็น ตโย อิเม (สามอย่างเหล่านี้).
ปุนปฺปุนํ (แล้วๆเล่าๆ, บานปลาย) นิบาต
วิวฑฺฒนฺติ (ย่อมเจริญ, ออกดอก, ลุกลาม, กำเริบ) วิ+√วฑฺฒ+อ+อนฺติ ภูวาทิคณะ, กัตตุวาจก, บาทคาถาที่ ๓ นี้ในจาณักยนีติ เป็น ปุน จ วฑฺฒเต ยสฺมา (และย่อมจะเจริญอีก เพราะเหตุใด).
ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น) สัพพนาม หรือ นิบาต ก็ได้
เสสํ (ส่วนเหลือ) เสส+อํ
น (ไม่, หามิได้) นิบาต
การเย (ให้กระทำ, ให้จัดการ) √กร+ณย+เอยฺย กิยาทิคณะ เหตุกัตตุวาจก
อนึ่งอาจจะแปลสำนวนให้กระซับ ว่า
„เศษหนี้ ๑ เศษไฟ ๑ และเศษโรค ๑
ทั้งสามนี้ ย่อมลุกลามบานปลายไม่รู้จบ
เหตุนั้น ควรจัดการให้สิ้นซาก.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen