Samstag, 6. August 2022

๘๘. คนที่ไม่น่าคบ

๘๘. คนที่ไม่น่าคบ


ปทุมํว มุขํ ยสฺส, วาจา จนฺทนสีตลา,

ตาทิสํ โนปเสเวยฺย, หทเย ตุ หลาหลํฯ


ไม่ควรคบคนหน้าบานดุจดอกบัว

และวาจาเย็นราวกะไม้จันทน์หอม

เพราะว่าใจของเขา มีพิษร้าย.“


(โลกนีติ หมวดมิตร คาถาที่ ๘๘, ธัมมนีติ ๑๑๑, กวิทัปปณนีติ ๒๔๓)


..


ศัพท์น่ารู้ :


คาถานี้ แบ่งเป็น ประโยค แปลยกศัพท์พอเป็นตัวอย่าง ดังนี้


.) ปทุมํว มุขํ ยสฺส, 

มุขํ . ใบหน้า ยสฺส (ปุคฺคลสฺส) ของบุคคลใด ปทุมํ อิว ราวกะว่า ดอกบัว (อตฺถิ) มีอยู่.


.) วาจา จนฺทนสีตลา, 

วาจา . ถ้อยคำ (ยสฺส ปุคฺคลสฺส) ของบุคคลใด จนฺทนสีตลา (วิย) ราวกะว่า ความเย็นแห่งไม้จันทน์ (อตฺถิ) มีอยู่.


.) ตาทิสํ โนปเสเวยฺย, 

(สาธุชโน) . คนดี อุปเสเวยฺย ไม่พึงเข้าไปคบ ตาทิสํ (ปุคฺคลํ) ซึ่งบุคคลผู้เช่นนั้น.


.) หทเย ตุ หลาหลํฯ 

ตุ เพราะว่า หลาหลํ . พิษร้าย หทเย ในใจ (ตสฺส ปุคฺคลสฺส) ของบุคคลนั้น (โหติ) ย่อมมี.





ปทุมํว ตัดบทเป็น ปทุมํ+อิว, ปทมํ (ดอกบัว, บัวหลวง) ปทุม+สิ นป., อิว (ราวกะ, เพียงดัง) เป็นนิบาตบอกอุปมา

มุขํ (หน้า, ปาก, มุข) มุข+สิ นป. 

ยสฺส (ของผู้ใด) + สัพพนาม

วาจา (วาจา, คำพูด) วาจา+สิ อิต.

จนฺทนสีตลํ (เย็นเหมือนไม้แก่นจันทน์) จนฺทน (ไม้จันทน์, ต้นไม้จันทน์) +สีตล (ที่เย็น, ที่หนาว)  > จนฺทนสีตล+สิ, จนฺทน (ไม้จันทน์) วิ. จนฺทนํ วิย สีตลํ ยสฺสาติ จนฺทนสีตลา, วาจา (คำพูด ชื่อว่า จนฺทนสีตลา เพราะอรรถว่า มีความเย็นดุจไม้แก่นจันทน์) อุปมาปุพพบท ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส.

ตาทิสํ (ผู้เช่นนั้น) ตาทิส+อํ 

โนปเสเวยฺย ตัดบทเป็น +อุปเสเวยฺย, (ไม่, หามิได้, อย่า) เป็นนิบาต, อุปเสเวยฺย (เข้าไปเสพ, เข้าไปหา, คบหา) อุป+√เสว++เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก (สัททนีติ ธาตุมาลาเป็น สิ ธาตุ, ส่วนธาตวัตถสังคหะ เป็น เสว ธาตุ)

หทเย (ในใจ,​ ในหทัย) หทย+สฺมึ

ตุ (ส่วนว่า, เพราะว่า) นิบาต

หลาหลํ (มีพิษร้าย) หลาหล+สิ


วาจา (วจ+) แปลว่า คำพูด

อภิธาน.ฏีกาและสูจิ วิเคราะห์ว่า วุจฺจเตติ วาจา (คำใดอันเขาย่อมกล่าว เหตุนั้น คำนั้น ชื่อว่า วาจา)

สัททนีติ ธาตุ ตั้งวิเคราะห์ว่า วตฺติ เอตายาติ วาจา (ชนย่อมกล่าวด้วยคำใด เหตุนั้น คำนั้น ชื่อว่า วาจา)

คำไวพจน์ของ คำพูด มี ๑๓ ศัพท์: ภาสิต, ลปิต, ภาสา, โวหาร, วจน, วจ, อุตฺติ, วาจา, คิรา, วาณี, ภารตี, กถิตา, วจี.


ดังปรากฏในอภิธานัปปทีปิกา คาถา ๑๐๕ ว่า


ภาสิตํ ลปิตํ ภาสา, โวหาโร วจนํ วโจ;

อุตฺติ วาจา คิรา วาณี, ภารตี กถิตา วจี.


..


 

Keine Kommentare: