๘๙. สามีที่ไม่ควรคบ
น เสเว ผรุสํ สามึ, น จ เสเวยฺย มจฺฉรึ,
ตโต อปคฺคณฺหํ สามึ, เนว นิคฺคหิตํ ตโตฯ
„ไม่ควรคบเจ้านายที่หยาบคาย,
ไม่ควรคบนายจ้างที่ตระหนี่;
แต่นั้น เจ้านายที่ไม่ยกย่อง,
และเจ้านายที่ข่มขู่ ก็ไม่ควรคบ.“
(โลกนีติ หมวดมิตร คาถาที่ ๘๙, มหารหนีติ ๑๙๔, ธัมมนีติ ๘๙, กวิทัปปณนีติ ๒๔๔)
..
ศัพท์น่ารู้ :
น: (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
เสเว: (เสพ, คบ, คบหา, ร่วมงาน, รับใช้) √เสว+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
ผรุสํ: (หยาบ, คาย, กล้าแข็ง, ดุร้าย) ผรุส+อํ ค.
สามึ: (เจ้าของ, สามี, นาย) สามี+อํ ป. (ในที่นี้น่าจะหมายถึง เจ้านาย หรือ นายจ้าง), มาจาก สํ+อี ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต วิ. สํ ธนํ อสฺสตฺถีติ สามี, ทีฆาทิ, รสฺสนฺเต สามิปิ.
แปลว่า: ทรัพย์ ของเขามีอยู่ เหตุนั้น เขานั้น ชื่อว่า สามี (ผู้มีทรัพย์),(อธิบายว่า) ให้ทีฆะเป็นต้น, ในเพราะสุดเป็นรัสสะ แม้ศัพท์ว่า สามิ (ก็มี). อภิธาน-ฏีกา คาถา ๗๒๕.
ตมฺปิ ตัดบทเป็น ตํ+อปิ (แม้นั้น)
มจฺฉรึ (คนตระหนี่, หวงของตน) มจฺฉรี+อํ ป.
ตโต (แต่นั้น, ยิ่งกว่านั้น, นอกจากนั้น) ต+โต อ. (อัพยยศัพท์, นิบาตใช้ในอรรถปัญจมีวิภัตติ)
อปคฺคณฺหํ (ผู้ไม่ยกย่อง, ไม่ชมเชย) น+ปคฺคณฺห > อปคฺคณฺห+อํ, ในธัมมนีติเป็น นิคฺคณฺหิกํ (ผู้ข่มแหง).
เนว (ไม่-, หามิได้นันเทียว) น+เอว สมูหนิบาต
นิคฺคหิตํ (ผู้ข่มแหง, ข่มขู) นิคฺคหิต+อํ, ในธัมมนีติ เป็น เนวาปคฺคณฺหิกํ ตัดบทเป็น น+อปคฺคณฺหิกํ (ผู้ไม่ให้การยกย่อง, ไม่ชมเชย, ไม่ให้เกียรติ)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen