๙๐. หลีกให้ไกลดีกว่า
สิงฺคึ ปญฺญาส หตฺเถน, วชฺเช สเตน วาชินํ;
หตฺถึ ทนฺตึ สหสฺเสน, เทสจาเคน ทุชฺชนํฯ
“หลีกสัตว์มีเขาให้ห่าง ๕๐ ศอก,
หลีกม้าวอกให้ไกล ๑๐๐ ศอก,
หลีกช้างมีงาให้ไกล ๑๐๐๐ ศอก,
หลีกคนพาลด้วยการย้ายถิ่นฐาน.“
(โลกนีติ หมวดมิตร คาถาที่ ๙๐, มหารหนีติ ๗๕, ธัมมนีติ ๒๑๖, จาณักยนีติ ๒๘)
..
ศัพท์น่ารู้ :
คาถานี้ แบ่งเป็น ๔ ประโยค เวลาโดยยกศัพท์หรือแปลโดยพยัญชนะ ต้องใส่ประธาน และกิริยา เข้ามาเอง เพื่อให้ได้ข้อความที่สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น..
๑.) สิงฺคึ ปญฺญาส หตฺเถนฯ
(ปุคฺคโล) อ. บุคคล วชฺเชยฺย พึงเว้น สิงฺคึ ซึ่งสัตว์มีเขา หตฺเถน ด้วยศอก ปญฺญาส ๕๐.
แปลความว่า : บุคคลควรเว้นสัตว์มีเขา ห่าง ๕๐ ศอก
๒.) วชฺเช สเตน วาชินํฯ
(ปุคฺคโล) อ. บุคคล วชฺเช พึงเว้น วาชินํ ซึ่งม้า หตฺเถน ด้วยศอก สเตน ๑๐๐.
แปลความว่า : บุคคลควรเว้นม้า ห่าง ๑๐๐ ศอก.
๓.) หตฺถึ ทนฺตึ สหสฺเสนฯ
(ปุคฺคโล) อ. บุคคล วชฺเชยฺย พึงเว้น หตฺถึ ซึ่งช้าง ทนฺตึ มีงา หตฺเถน ด้วยศอก สหสฺเสน ๑๐๐๐.
แปลความว่า : บุคคลควรเว้นช้างมีงา ห่าง ๑๐๐๐ ศอก.
๑๐๐๐,
๔.) เทสจาเคน ทุชฺชนํฯ
(ปุคฺคโล) อ. บุคคล วชฺเชยฺย พึงเว้น ทุชฺชนํ ซึ่งคนพาล เทสจาเคน ด้วยการสละซึ่งประประเทศ.
แปลความว่า : บุคคลควรเว้นคนชั่ว ด้วยการทิ้งถิ่นฐาน.
.
สิงฺคึ (สัตว์มีเขา) สิงฺคี+อํ, สิงฺค แปลว่า เขาสัตว์, สิงฺคี หมายถึง สัตว์มีเขา, สิงฺค+อี ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต วิ. สิงฺโค อสฺส อตฺถีติ สิงฺคี.
ปญฺญาส (๕๐)
หตฺเถน (ด้วยศอก)
สเตน (ร้อย, ๑๐๐ ศอก) สต+นา
วชฺเช (เว้น, หลีก, สละ) วชฺช√จช+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ในธัมมนีติ เป็น จเช (สละ)
วาชินํ (ม้า) วาชี+นํ, บางคัมภีร์ เป็น วาหนํ (พาหนะ, ม้า)
หตฺถี (ผู้มีมือ, สัตว์มีงวง, ช้าง) หตฺถี+อํ
ทนฺตึ (ผู้มีฟัน, สัตว์มีงา, ช้าง) ทนฺตี+อํ
สหสฺเสน (พัน, ๑๐๐๐ ศอก) สหสฺส+นา
เทสจาเคน (ด้วยการทิ้งประเทศ, ด้วยการสละถิ่นที่อยู่) เทส (ประเทศ, ที่อยู่) +จาค (สละ, บริจาค) > เทสจาค+นา
ทุชฺชนํ (ทุรชน, คนชั่ว, คนพาล) ทุชฺชน+อํ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen