Dienstag, 9. August 2022

๙๑. อย่างนี้ต้องเว้นแน่

๙๑. อย่างนี้ต้องเว้นแน่


กุเทสญฺจ กุมิตฺตญฺจ, กุกุลญฺจ กุพนฺธวํ;

กุทารญฺจ กุทาสญฺจ, ทูรโต ปริวชฺชเยฯ


เมืองไร้ธรรม, เพื่อนเลวทราม,  

ตระกูลขาดศีล, ญาติไร้นำ้ใจ,

เมียไม่ดี, บ่าวไพร่ไร้สัจ 

ควรหลีกเว้นให้ห่างไกล.“


(โลกนีติ หมวดมิตร คาถาที่ ๙๑, ธัมมนีติ ๒๓๓, กวิทัปปณนีติ ๒๔๕, จาณักยนีติ ๓๙)


..


ศัพท์น่ารู้ :


กุเทสญฺจ ตัดบทเป็น กุเทสํ+ (ประเทศที่ชั่ว, -เลว, -ต่ำ, -ลามก+ด้วย) กุเทส+อํ, ทาร (เมีย, ภรรยา) เป็น การันต์ ในปุงลิงค์ แจกเหมือน ปุริส ศัพท์ 

วิ. ทารยนฺเต เยนาติ ทาโร (ทร-วิทารเณ + )

แปลว่า: ชาย (สามี)ทั้งหลาย ย่อมแยก (จากตระกูล) เพราะเมียใด  เหตุนั้น เมียนั้น  ชื่อว่า ทาระ, หรือแปลเอาความว่า  ภรรยา ชื่อว่า ทาระ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้ผู้ชายแยกจากตระกูล.


กุมิตฺตญฺจ  ตัดบทเป็น กุมิตฺตํ+ (มิตรที่ชั่ว, -เลว, ต่ำ, -ลามก+ด้วย) กุมิตฺต+อํ

กุกุลญฺจ ตัดบทเป็น กุกุลํ+ (ตระกูลที่ชั่ว, -เลว, ต่ำ, -ลามก+ด้วย) กุกล+อํ

กุพนฺธวํ (พวกพ้อง, ญาติมิตรที่ชั่ว) กุพนฺธว+อํ

กุทารญฺจ ตัดบทเป็น กุทารํ+ (เมีย-, ภริยา-, ทาระที่ชั่ว, -เลว, ต่ำ, -ลามก) กุทาร+อํ

กุทาสญฺจ  ตัดบทเป็น กุทาสํ+ (คนใช้-, ทาสที่ชั่ว, -เลว, ต่ำ, -ลามก) กุทาส+อํ

(ด้วย, และ) ทั้ง ศัพท์เป็นนิบาตใช้ในอรรถปทสมุจจยะ (รวบรวมบท) 

ศัพท์ว่า กุ แปลว่า แผ่นดิน อิต. ถ้าเป็นอัพยยศัพท์ คือ นิบาต (.) ใช้ในอรรถน่าเกลียด
 
น่ารังเกียจ (ชิคุจฺฉายํ) ในการตั้งรูปตั้งวิเคราะห์นิยมใช้ กุจฺฉิต ที่แปลว่า ต่ำช้า, เลว, ทราม เช่น กุจฺฉิโต เทโส = กุเทโส (ประเทศที่เลว ชื่อว่า กุเทส), กุจฺฉิโต มิตฺโต = กุมิตฺโต (เพื่อนที่น่าเกลียด, น่าขยะแขยง ชื่อว่า กุมิตฺต) เป็นต้น เป็นกุปุพพบทกัมมธารยสมาส นอกจากนี้ กุ นิยมแปลง เป็น กทฺ สูตรว่า กทฺ กุสฺส. (รู ๓๔๖) อุทารหรณ์ เช่น กทนฺนํ (ข้าวที่น่ารังเกียจ), อทสนํ (อาหารที่น่ารังเกียจ) เป็นต้น, แปลง กุ เป็น กา (ในอรรถว่า น้อย) ด้วยสูตรว่า กาปฺปตฺเถสุ . (รู ๓๔๗) อุทาหรณ์ เช่น กาลวณํ (เกลือมีน้อย), กาปุปฺปํ (ดอกไม้มีจำนวนน้อย), กาปุริโส (บุรุษผู้น่ารังเกียจ) เป็นต้น

ทูรโต: (แต่ที่ไกล) ทูร+โต ปัจจัยใช้ในอรรถปัญจมีวิภัตติ, โต ปัจจัย ตัวนี้ลงในอรรถ ปัญจมีวิภัตติเป็นส่วนมาก (กฺวจิ โต ปญฺจมฺยตฺเถ. - รู ๒๖๐) และยังในอรรถสัตตมีวิภัตต และ อรรถตติยาวิภัตติได้บ้าง ด้วยการแบ่งสูตร  (กฺวจิ โต. - ดู รู  ๒๖๕) ตัวอย่างเช่น  อาทิโต (ในเบื้องต้น), มชฺฌโต (ในท่ามกลาง), อนิจฺจโต สมฺมติ (ย่อมพิจารณา  โดยความเป็นของไม่เที่ยง) เป็นต้น

ปริวชฺชเย: (เว้นรอบ, เว้นให้ห่าง) ปริ+√วชฺช+ณย+เอยฺย จุราทิคณะ กัตตุวาจก


..


 

Keine Kommentare: