๙๓. เพื่อนมาก-เพื่อนน้อย
สีตวาโจ พหุมิตฺโต, ผรุโส อปฺปมิตฺตโก,
อุปมํ เอตฺถ ญาตพฺพา, จนฺทสูริยราชูนํฯ
“คนพูดจาอ่อนหวาน จะเป็นคนมีเพื่อนมาก,
คนพูดแข็งกระด้าง จะเป็นคนมีเพื่อนน้อย,
ในข้อนี้พึงทราบอุปมาด้วยพระจันทร์และพระทิตย์เถิด”
(โลกนีติ หมวดมิตร คาถาที่ ๙๓, ธัมมนีติ ๖๙, กวิทัปปณนีติ ๒๔๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
คาถานี้ แบ่งเป็น ๓ ประโยค ขอแปลตัวอย่างสำหรับนักศึกษาใหม่ ดังนี้.
๑.) สีตวาโจ พหุมิตฺโต,
(ชโน) อ. ชน สีตวาโจ ผู้มีวาจาอ่อนหวาน พหุมิตฺโต เป็นผู้มีมิตรมาก (โหติ) ย่อมเป็น.
แปลความว่า: คนพูดไพเราะ ย่อมมีเพื่อนมาก.
๒.) ผรุโส อปฺปมิตฺตโก,
(ชโน) อ. ชน ผรุโส (พูดจา)หยาบคาย อปฺปมิตฺตโก เป็นผู้มีมิตรน้อย (โหติ) ย่อมเป็น.
แปลความว่า: คนพูดจาหยาบกระด้าง ย่อมมีเพื่อนน้อย.
๓.) อุปมํ เอตฺถ ญาตพฺพา, จนฺทสูริยราชูนํ
เอตฺถ ในเรื่องนี้ อุปมา อ. อุปมา จนฺทสูริยราชูนํ แห่งพระราชาคือพระจันทร์และพระอาทิตย์ ท. ปณฺฑิเตหิ อันบัณฑิต ท. ญาตพฺพา พึงทราบ.
แปลความว่า: ในเรื่องนี้ ควรทราบการเปรียบด้วยพระจันทร์และอาทิตย์เถิด.
สีตวาโจ (ผู้มีวาจเย็น, -อ่อนหวาน, สุภาพ) สีต (เย็น) +วาจา (คำพูด) > สีตวาจา > สีตวาจ+สิ มีรูปวิเคราะห์ว่า.. สีตา วาจา ยสฺสาติ สีตวาโจ (ผู้มีวาจาอ่อนหวาน ชื่อว่า สีตวาจ) ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส
พหุมิตฺโต (ผู้มีมิตรมาก, มีเพื่อนเยอะ) พหุ+มิตฺต > พหุมิตฺต+สิ
ผรุโส (คนหยาบคาย, แข็ง, กระด้าง) ผรุส+สิ
อปฺปมิตฺตโก (มีมิตรน้อย, มีเพื่อนน้อย) อปฺป (น้อย, นิดหน่อย)+มิตฺต (มิตร, เพื่อน) > อปฺป+มิตฺตก > อปฺปมิตฺตก+สิ, บาทคาถานี้ในธัมมนีติ เป็น ผรุโส ตุ อมิตฺตโก. (ส่วนคนพูดจากหยาบคาย เป็นคนมีเพื่อนน้อย).
อุปมํ = อุปมา (การเปรียบเทียบ, อุปมา) อุปมา+สิ อิต. ในกวิทัปปณนีติ เป็น อุปมา ถือว่าเหมาะสมกว่า.
เอตฺถ (ในข้อนี้, ในเรื่องนี้) เอต+ถ ลงปัจจัยในอรรถสัตตมีวิภัตติ ด้วยสูตรว่า ตฺร-ถ สตฺตมิยา สพฺพนาเมหิ. (รู ๒๖๖), แปลง เอต เป็น เอ ด้วยสูตรว่า เอ โตเถสุ จ. (รู ๒๖๔) เอ+ถ, ซ้อน ตฺ (อสทิสเทฺวภาวะ) ด้วยสูตรว่า วคฺเค โฆสาโฆสานํ ตติยปฐมา. (รู ๔๒) = เอตฺถ
ญาตพฺพา (ควรทราบ, ควรรู้) ญาตพฺพ+สิ, (= √ญา+ตพฺพ) ลง ตพฺพ กิจจปัจจัยในกิตก์ หรือ กิพพิธานกัณฑ์ ด้วยสูตรว่า ภาวกมฺเมสุ ตพฺพานียา. (รู ๕๔๕) รวมเป็น ญาตพฺพ, ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ ด้วยสูตรว่า อิตฺถิยมโต อาปจฺจโย. (รู ๑๗๖) = ญาตพฺพ+อา รวมเป็น ญาตพฺพา, ตั้งเป็นนาม, ลง สิ, ลบ สิ, สำเร็จรูปเป็น ญาตพฺพา. เป็นกัมมวาจก, (บาทคาถานี้จึงแปลว่า อุปมา การเปรียบเทียบ เอตฺถ ในเรื่องนี ปุคฺคเลน อันบุคคล ญาตพฺพา พึงทราบ)
จนฺทสูริยราชูนํ (แห่งราชาคือพระอาทิตย์และพระจันทน์ ท.) จนฺท+สูริย+ราช > จนฺทสูริยราช+นํ, ในกวิทัปปณนีติ เป็น จนฺทสูริยราชุนํ (ทำรัสสะเพื่อรักษาฉันท์)
มิตฺตกณฺโฑ นิฎฺฐิโตฯ
จบหมวดว่าด้วยมิตร
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen