Mittwoch, 31. August 2022

๑๑๒. การนอนบอกฐานะ



 . ราชกณฺโฑ-หมวดราชา


๑๑๒. การนอนบอกฐานะ


เอกยามํ สเย ราชา, ทฺวิยามญฺเญว ปณฺฑิโต;

ฆราวาโส ติยามํว, จตุยามํ ตุ ยาจโกฯ


พระราชาบรรทมชั่วหนึ่งยาม, 

บัณฑิตนอนเพียงสองชั่วยาม,

ชาวบ้าน นอนประมาณสามชั่วยาม, 

ส่วนยาจกชน นอนตลอดสี่ชั่วยามนั่นเทียว.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๑๒, ธัมมนีติ ๑๘๗, กวิทัปปณนีติ ๒๕๔)


..


ศัพท์น่ารู้ :


คาถานี้ แบ่งเป็น ประโยค คือ

.) เอกยามํ สเย ราชา,
ราชา . พระราชา สเย ย่อมนอน เอกยามํ สิ้นหนึ่งยาม.

.) ทฺวิยามญฺเญว ปณฺฑิโต.
ปณฺฑิโต . บัณฑิต (สเย ย่อมนอน) ทฺวิมญฺเญว สิ้นสองยามนั่นเทียว.


.) ฆราวาโส ติยามํว.
ฆราวาโส . คนอยู่ครองเรือน (สเย ย่อมนอน) ติยามํว สิ้นสามยามนั่นเทียว.


.) จตุยามํ ตุ ยาจโก

ตุ ส่วน ยาจโก . คนของทาน (สเย ย่อมนอน) จตุยามํ (เอว) สิ้นสี่ยามนั่นเทียว.



เอกยามํ (สิ้นยามหนึ่ง, ช่วงกาลหนึ่ง, สามชั่วโมง) ยาม+อํ .

ยามในที่นี้หมายถึงการแบ่งภาคกลางคืนออกเป็น ส่วน ยามหนึ่งเท่ากับ ชั่วโมง, ถ้าแบ่งเป็น ส่วน ยามหนึ่งก็จะเท่ากับ ชั่วโมง. แต่ในคาถานี้ท่านแบ่งเป็น ยาม.

สเย (พึงนอน, ย่อมนอน) สี++เอยฺย, หรือ สิ++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ราชา (พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน) ราช+สิ แปลง สิ เป็น อา.

ทฺวิยามญฺเญว ตัดบทเป็น ทฺวิยามํ+เอว (ตลอดสิ้นยาม, สิ้นประมาณ ชั่วโมงนั้นเทียว) ทฺวิ+ยาม > ทฺวิยาม+อํ

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, นักปราชญ์, คนมีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ 

ฆราวาโส (ฆราวาส, คนอยู่ครองเรือง,​ ชาวบ้าน, คนธรรมดา) ฆร (บ้าน, เรือน) +อาวาส (การอยู่, อาศัย) > ฆราวาส+สิ

ติยามํว ตัดบทเป็น ติยามํ+เอว (สิ้นสามยามนั่นเทียว) ติ+ยาม > ติยาม+อํ

จตุยามํ (สี่ยาม, สิบสองชั่วโมง) จตุ+ยาม > จตุยาม+อํ

ตุ (ส่วน, แต่) นิบาตบท

ยาจโก (คนยากจน, คนขอทาน, ยาจก) ยาจก+สิ, ส่วนในธัมมนี้ เป็น ทุคฺคโต (ทุคคตชน, คนยากจน)


..

Keine Kommentare: