Montag, 5. September 2022

๑๑๗. ผู้ควรเสียหาย ๔

๑๑๗. ผู้ควรเสียหาย


นฏฺโฐ ยติ อสนฺตุฏฺโฐ, สนฺตุฏฺโฐ มหีปติ;

ลชฺชา คณิกา นฎฺฐา, นิลฺลชฺชา กุลธีติกาฯ


พระภิกษุ ไม่สันโดษ ก็เสียหาย

พระราชา สันโดษ ก็เสียหาย
หญิงขายบริการ ขี้อาย ก็เสียหาย

กุลสตรี ไม่มีความอาย ก็เสียหาย.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๑๗, ธัมมนีติ ๓๕๖, มหารหนีติ ๑๘๐, กวิทัปปณนีติ ๓๐๕, จาณักยนีติ ๘๐)


..


ศัพท์น่ารู้ :


นฏฺโฐ ( (ฉิบหายแล้ว, เสียหายแล้ว, ซวด) นส+ แปลง เป็น ฏฺฐ และลบที่สุดธาตุ > +ฏฺฐ > นฏฺฐ+สิ = นฏฺโฐ. เป็นได้ทั้่งสามลิงค์ เช่น ปุริโส นฏฺโฐ, อิตฺถี นฏฺฐา,​ กุลํ นฏฺฐํ.

ยติ (ผู้สำรวม, ภิกษุ) ยติ+สิ, บางคัมภีร์เป็น ยตี, ในจาณักยนีติ เป็น ทฺวิชา

อสนฺตุฏฺโฐ (ผู้ไม่สันโดษ) +สนฺตุฏฺฐ > อสนฺตุฏฺฐ+สิ 

นฎฺฐา (ฉิบหายแล้ว, เสียหายแล้ว) นส+ แปลง เป็น ฏฺฐ และลบที่สุดธาตุ > +ฏฺฐ > นฏฺฐ+โย = นฏฺฐา.

สนฺตุฏฺโฐปิ = สนฺตุฏฺโฐ+อปิ (แม้เป็นผู้สันโดษ) สนฺตุฏฺฐ+สิ, อปิ (แม้, บ้าง) เป็นนิบาต

 มหีปติ, มหีปตี (ผู้เป็นเจ้าแห่งแผ่นดิน, พระราชา) มหี (แผ่นดิน) +ปติ (เจ้าของ, ผู้เป็นใหญ่) > มหีปติ+สิ ในกวิทัปปณนีติ เป็น ปตฺถิ, ส่วนในจาณักยนีติ เป็น ปาถิวา.

ลชฺชา (ผู้มีความละอาย) ลชฺชา > ลชฺชา+สิ, บางคัมภีร์ เป็น สลชฺชา (ผู้เป็นไปกับด้วยความละอาย).

คณิกา (หญิงงามเมือง, หญิงขายบริการ) คณิกา+สิ

นิลชฺชา (ผู้ปราศจากความละอาย, คนไม่มียางอาย) นิ+ลชฺชา >  นิลชฺชา, บางคัมภีร์เป็น นิลฺลชฺชา

สุกุลคตา กุลธีติกา (หญิงผู้เป็นธิดาแห่งตระกูลที่ดี, สตรีมีสกุล, กุลสตรี) สุกุลคตา+สิ, ในกวิทัปปณนีติและจาณั แอิ   กยนีติ เป็น กุลตฺถิโย, มหารหนีติ เป็น กุลงฺคนา, ธัมมนีติ เป็น สุกุลคตา.



ข้อควรทราบเกี่ยวกับศัพท์ว่ายติ


ยติ (ผู้เพียร, ผู้พยายาม, ภิกษุ) ยต+อิ+สิ, ปุงลิงค์

วิ. ยตตีติ ยติ. 

(ผู้ใด ย่อมเพียรพยายาม เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า ยติ)

มาจาก ยต ธาตุในอรรถว่า ความเพียรพยายาม (ปยตเน) + อิ ปัจจัย ในกิตก์ (อุณาทิปัจจยันตนัย)


ลง อิ ปัจจัยด้วยสูตรว่ามุนาทีหิ จิ.“ (รู ๖๗๙)

(แปลว่า) “ให้ลง อิ ปัจจัย หลัง มุน ธาตุเป็นต้น.” 


ตัวอย่างศัพท์ที่ลง อิ ปัจจัยด้วยสูตรนี้ เช่น 

มุนิ (พระมุนี), อคฺคิ (ไฟ), ปติ (นาย, เจ้าของ), สุจิ (สะอาด), รุจิ (แสงสว่าง), อิสิ (ฤาษี), กวิ (กวี), รวิ (พระอาทิตย์), ทธิ (นมส้ม), อสิ (ดาบ), ราชิ (แถว), สปฺปิ (เนยใส), อจฺจิ (เปลวไฟ), โชติ (แสงสว่าง), นนฺทิ (ความเพลิดเพลิน), ทีปิ (เสือเหลือง, เสือดาว), กิมิ (หนอน), ติมิ (ปลาใหญ่), โพธิ (ต้นโพธิ์, ปัญญา), กสิ (การไถ), กปิ (ลิง), กลิ (ความลำบาก, โทษ, บาป), พลิ (ภาษี, การบูชา), มสิ (เขม่า, หมึก), ธนิ (เสียง), หริ (พระวิษณุ), อริ (ศัตรู), คิริ (ภูเขา) เป็นต้น


ยติ-สัททปทมาลา แจกด้วยวิภัตติทั้ง หมวด ดังนี้คือ.


วิภัตติ / เอกวจนะ / พหุวจนะ


. ยติ / ยตี ยตโย

อา. โภ ยติ / โภนฺโต ยตี ยตโย

ทุ. ยตึ / ยตี ยตโย

. ยตินา / ยตีหิ ยตีภิ, ยติหิ ยติภิ

. ยติโน ยติสฺส / ยตีนํ ยตินํ

ปัญ. ยตินา ยติสฺมา ยติมฺหา / ยตีหิ ยตีภิ, ยติหิ ยติภิ

. ยติโน ยติสฺส / ยตีนํ ยตินํ

. ยติมฺหิ ยติสฺมึ / ยตีสุ ยติสุ


..


 

Keine Kommentare: