Mittwoch, 14. September 2022

๑๒๖. น สํสโย ไม่ต้องสงสัย!

 

๑๒๖. สํสโย ไม่ต้องสงสัย!


ปทุฎฺฐภริยสํวาโส, ปทุฎฺฐ จิตฺต ทาสโก;

สสปฺเป ฆเร วาโส, มจฺจุ เอว สํสโยฯ


การอยู่ร่วมกับภริยาดุร้าย

มีทาสรับใช้ใจเหี้ยมโหด

และการอยู่ในเรือนทีมีอสรพิษ

ทั้งสามนี้ ตายแน่นอน ไม่ต้องสงสัย.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๒๖, ธัมมนีติ ๑๘๒, จาณักยนีติ ๔๓)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ปทุฏฺฐภริยาสํวาโส (การอยู่ร่วมกับภริยาที่ใจร้าย) ปทุฏฺฐ (ประทุษร้าย, ร้ายกาจ) + ภริยา (ภริยา, เมีย) + สํวาส (การอยู่ร่วมกัน) > ปทุฏฺฐภริยาสํวาส+สิ, ในธัมมนีติ เป็ฯ ทุฎฺฐทาเรน (ภริยาผู้ดุร้าย)

ปทุฏฺฐจิตฺตทาสโก (ทาสผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้ว, คนใช้ที่มีจิตใจเหี้ยมโหด) ปทุฏฺฐ (ร้าย, โหด)+จิตฺต (จิตใจ)+ทาสก (ทาส, คนใช้) > ปทุฏฺฐจิตฺตทาสก+สิ  ธัมมนีติเป็น ทาโส จุตฺตรวาจโก (คนใช้ปากกล้า), จาณักยนีติ เป็น ภจฺโจ จุตฺตรทายโก.

จุตฺตรวาจโก ตัดบทเป็น +อุตฺตรวาจโก (และคนที่พูดมาก) มาจาก อุตฺตร+วาจก > อุตฺตรวาจก+สิ

สสปฺเป (ที่เป็นไปกับงู, ที่มีอสรพิษ) สห+สปฺป > สสปฺป+สฺมึ

(ด้วย, และ) นิบาต

ฆเร (ในเรือน) ฆร+สฺมึ 

วาโส (การอยู่,​ ที่อยู่) วาส+สิ

มจฺจุเอว (ตายนั่นแทียว, ตายแน่นอน) มจฺจุ+เอว, มจฺจุ+สิ = มจฺจุ (ความตาย), เอว เป็นนิบาต

สํสโย (ไม่ต้องสงสัย, อย่าสงสัย) สํสย+สิ = สํสโย (ความสงสัย, แคลงใจ),  (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ.


..


Keine Kommentare: