Donnerstag, 15. September 2022

๑๒๗. เหตุทำให้บัณฑิตตกต่ำ

..


๑๒๗. เหตุทำให้บัณฑิตตกต่ำ


มูฬฺหสิสฺโสปเทเสน, กุนารีภรเณน ;

อสตา สมฺปโยเคน, ปณฺฑิโตปฺปวสีทติฯ


เพราะสั่งสอนศิษย์โง่เขลา

เพราะเลี้ยงดูหญิงชั่ว

และเพราะคบกับคนพาล

แม้บัณฑิต ย่อมตกต่ำได้.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๒๗, มหารหนีติ ๑๑๙, ธัมมนีติ ๑๒๐ กวิทัปปณนีติ ๑๓๐)


..


ศัพท์น่ารู้ :


มุฬฺหสิสฺโสปเทเสน (เพราะคำแนะนำของศิษย์โง่เขลา) มูฬฺห (หลง, งมงาย, โง่เขลา) +สิสฺส (ศิษย์, ผู้ควรสั่งสอน) +อุปเทส (คำแนะนำ, การชี้แจง, การแนะนำ ) > มุฬฺหสิสฺโสปเทส+นา, แปลง นา เป็น เอน ด้วยสูตรว่า อโต เนน. (รู ๗๙)

กุนารีภรเณน (เพราะเลี้ยงดูหญิงไม่ดี, -นารีชั่ว) กุ = กุจฺฉิต (น่ารังเกียจ, ชั่ว) +นารี (นารี, หญิง) > กุนารี (หญิงไม่ดี,​ สตรีชั่ว) +ภรณ (การเลี้ยงดู, การชุบเลี้ยง) > กุนารีภรณ+นา 

(ด้วย, และ) เป็นนิบาต

อสตา (อสัตบุรุษ, คนพาล, คนชั่ว) อสนฺต+นา, ในคัมภีร์นีติอื่น เป็น ขลสตฺตูหิ (ด้วยศัตรูชั่ว, -ศัตรูที่พาล) ขล+สตฺตุ > ขลสตฺตุ+หิ 

สมฺปโยเคน (ด้วยการประกอบพร้อม, คบหา, สมาคม) สมฺปโยค+นา, ส่วนในคัมภีร์อื่น เป็น สํโยคา (เพราะประกอบ, คบหา, สมคบ, สมาคม) สํ+โยค > สํโยค+สฺมา

ปณฺฑิโตปฺปวสีทติ ตัดบทเป็น ปณฺฑิโต+ปวสีทติ (บัณฑติ ย่อมตกต่ำ, ดิ่งลง, จมลง) ในคัมภีร์นีติอื่น เป็น ปณฺฑิโตปฺยาวสีทติ ตัดบทเป็น ปณฺฑิโต+อปิ+อวสีทติ

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ

อวสีทติ (จมลง, ดิ่งลง, ตกต่ำ, เสียชื่อเสียง) อว+√สท++ติ แปลง สท เป็น สีท ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สทสฺส สีทตฺตํ. (รู ๔๘๔) มาจากธาตุเดียวกันกับกริยาศัพท์ว่า นิสีทติ ที่แปลว่า ย่อมนั่ง, ส่วนในสัททนีติ ธาตุมาลา เป็น สีท ธาตุโดยตรงไม่ต้องทำการแปลงหรืออาเทศอีก.


..


 

Keine Kommentare: