Samstag, 17. September 2022

๑๒๙. มนต์มัดใจ

๑๒๙. มนต์มัดใจ


อกฺโกเธน ชิเน โกธํ, อสาธุํ สาธุนา ชิเน;

ชิเน มจฺฉรึ ทาเนน, สจฺเจนาลีกวาทินํฯ


พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ,

พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี,

พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้,

พึงชนะคนพูดเหลวไหลด้วยคำสัตย์.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๒๙, กวิทัปปณนีติ ๒๖๓, จตุรารักขทีปนี ๑๐ เมตตาภาวนา ขุ. . ๒๕/๒๗ โกธวรรค, ขุ. ชา. ๒๗/๑๕๒ ราโชวาทชาดก)


..


ศัพท์น่ารู้ :


อกฺโกเธน (ด้วยความไม่โกรธ) +โกธ > อกฺโกธ+นา, (เดิมเป็น อโกเธน ได้แก้เป็น อกฺโกเธน ตามพระบาฬี.)

ชิเน (พึงชนะ) √ชิ+นา+เอยฺย, กิยาทิ. กัตตุ. 

โกธํ (ซึ่งคนโกรธ) โธน+อํ

อสาธุํ (คนไม่ดี) +สาธุ > อสาธุ+อํ

สาธุนา (ด้วยความดี) สาธุ+นา

มจฺฉรี (คนตระหนึ่, คนขี้เหนียว) มจฺฉรี+อํ ในพระบาฬี เป็น กทริยํ.

ทาเนน (ด้วยทาน, การให้) ทาน+นา

สจฺเจนาลิกวาทินํ ตัดบทเป็น สจฺเจน (ด้วยสัจจะ, ความจิรง: สจฺจ+นา) + อลิกวาทินํ (คนมักพูดเหลาะแหละ, คนชอบพูดเหลวไหล: อลิก+วาที > อลิกวาที+อํ)



หลักการทำเทฺวภาวะ (การซ้อนอักษร)


หากมีคำถามว่า อกฺโกเธน หรือ อโกเธน อย่างไหนถูกต้อง?


ตอบว่า.

ตามหลักแล้วควรซ้อน เพราะเป็นเทฺวภาวฐานะ (ฐานที่ทำการซ้อนได้) กล่าวคือ เพราะมี กมุ ธาตุ อยู่หลัง, หลังจากแปลง เป็น แล้วให้ทำการซ้อนได้. สมตามที่คัมภีร์ปทรูปสิทธิสูตรที่ ๔๐ กล่าวไว้ว่า 

เอตฺถ ฐานํ นาม รสฺสาการโต ปรํ -ปติ-ปฏิ-กมุ-กุส-กุธ-กี-คห-ชุต-ญา-สิ-สุ-สุมฺภ-สร-สสาทีนมาทิพฺยญฺชนํ เทฺวภาวํ,....

(แปลว่า)

สำหรับ เอตฺถ (สุตฺเต) ในสูตรนี้ อิติ เอวํ อาทิ (ฐานํ) ฐานะเป็นต้นอย่างนี้ว่า อาทิพฺยญฺชนํ พยัญชนะตัวต้น ปปติปฏิกมุกุสกุธกีคหชุตญาสิสุสมฺภุสรสสาทีนํ (อุปสคฺค-ธาตูนํ) แห่งอุปสัคและธาตุทั้งหลายมี ปติ ปฏิ อุปสัค และ กมุ กุส กุธ กี คห ชุต ญา สิ สุ สมฺภุ สร สส ธาตุเป็นต้น ปรํ อันอยู่ข้างหลัง รสฺสาการโต จากรัสสสระและอาอักษรทั้งหลาย (ปปฺโปติ ย่อมถึง) เทฺวภาวํ ซึ่งความเป็นเทฺวภาวะ ด้วย.

ฉะนั้น คำว่า อกฺโกเธน ตามพระบาลีถือว่าถูกต้องแล้ว


มจฺฉริ (มจฺฉรี) กับ กทริย แปลว่า ตะหนี่ เหมือนกัน แต่ตระหนึ่ไม่เหมือนกัน.

ความต่างของ มจฺฉริ และ กทริย ปรากฏในอรรถกถาสังยุตตนิกาย เทวตาสังยุต สูตรที่ (มัจฉริยสูตร) ว่า...


กทริยาติ อิทํ มจฺฉริโนติ ปทสฺเสว เววจนํ มุทุกํปิ หิ มจฺฉริยํ มจฺฉริยนฺ ตฺเวว วุจฺจติ ถทฺธํ ปน กทริยํ นาม

(แปลว่า)

บทว่า กทริยา ความเหนียวแน่น นี้เป็นไวพจน์ของความตระหนี่ นั่นแหละ, เพราะว่า ความตระหนี่อย่างอ่อน ท่านเรียกว่า มัจฉริยะ ส่วนความ ตระหนี่จัด ท่านเรียกว่า กัทริยะ. 


..


 

Keine Kommentare: