Mittwoch, 21. September 2022

๑๓๓. เพื่อนที่ไม่อาจช่วยเพื่อน

๑๓๓. เพื่อนที่ไม่อาจช่วยเพื่อน


สหาโย อสมตฺโถปิ, เตชสา กึ กริสฺสติ;

นิวาเต ชลิโต อคฺคิ, สยเมวูปสมฺปติฯ


เพื่อนหากไม่มีความสามารถ

จักมีอำนาจ ช่วยอะไรได้! 

เปรียบเสมือนไฟที่จุดไว้ในที่อับลม 

รอแต่จะดับไปเองนั่นเทียว.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๓๓, ธัมมนีติ ๙๔, มหารหนีติ ๒๒๗)


..


ศัพท์น่ารู้ :


อสหาโย (ไม่ใช่สหาย​, ไม่ใช่เพื่อน) +สหาย > อสหาย+สิ

อสมตฺโถปิ (แม้มีความสามารถ) อสมตฺโถ+อปิ, ในธัมมนีติ เป็น  สมตฺโตปิ ตัดบทเป็น สมตฺโต+อปิ (แม้จบ, แม้บริบูรณ์) สมตฺต+สิ.

เตชสา (ด้วยเดช, มีอำอาจ) เตช+นา, ส่วนในธัมมนีติ เป็น เตชสี  (ผู้มีเดช, ผู้มีอำนาจ) เตชสี+สิ วิ. เตโช อสฺส อตฺถี, ตสฺมึ วา วิชฺชตีติ เตชสี, เตชสฺสี (เขา ชื่อว่า เตชสี เพราะอรรถว่า เขามีอำนาจ, หรือว่า ในตัวเขามีอำนาจ)  เตช+สี ปัจจัย ตทัสสัตถิตัทธิต ลง สี ปัจจัย หลัง ตป ศัพท์เป็นต้น § ตปาทิโต สี. (รู ๓๙๙), ในมหารหนีติ เป็น เตชสิ.

กึ (อะไร,​ ประโยชน์อะไร, หรือ) กึ+อํ สัพพนาม

กริสฺสติ (จักกระทำ, จักสร้าง, จักช่วย) √กร+โอ+อิ+สฺสติ  ตนาทิ. กัตตุ. หรือกร+อิ+สฺสติ ภูวาทิ. กัตตุ.

นิวาเต (ในที่ไม่มีลม, ที่อับลม) นิวาต+สฺมึ

ชลิโต  (โชติช่วง, สว่าง, ลุกโพลง) ชลิต+สิ, ส่วนในธัมมนีติและมหารหนีติ เป็น นิวาตสณฺฐิโต (ตั้งอยู่ในที่มีลมออกแล้ว, -ที่ปราศจากลม, -ที่ไม่มีลม) นิวาต (ไม่มีลม) + สณฺฐิต (ตั้งไว้แล้ว, ดำรง, ยืนแล้ว, ก่อ, จุด) > นิวาตสณฺฐิต+สิ

อคฺคิ (ไฟ, อัคคี) อคฺคิ+สิ

สยเมวูปสมฺมติ ตัดบทเป็น สยํ+เอว+อุปสมฺมติ, สยํ (เอง, ด้วยตนเอง), เอว (นั่นเทียว,​ เท่านั้น) นิบาตบท. ส่วน อุปสมฺมติ (ย่อมเข้าไปสงบ, ย่อมดับ) อุป+√สมุ++ติ  ทิวาทิ. กัตตุ.


..


 

Keine Kommentare: