๑๔๐. ควรเป็นดุจพรานผู้กลัวภัย
ทิวา นาทิกฺขา วตฺตพฺพํ, รตฺโต นาวจเนน จ;
สญฺจเรยฺย ภยา ภีโต, วเน วนจรี ยถาฯ
„บุคคลไม่ควรพูดจาในเวลากลางวัน
หรือในกลางคืน หากยังไม่แน่ใจ
ควรประพฤติดุจพรานผู้กลัวภัย
ท่องเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น.“
(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๔๐)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ทิวา (กลางวัน, ในวัน) นิบาต
นาทิกฺขา ตัดบทเป็น น+อทิกฺขา (ศัพท์นี้ ไม่แน่ใจครับว่าทำตัวอย่างไร? ขอฝากไว้ก่อน)
วตฺตพฺพํ (คำที่ควรกล่าว) วจ+ตพฺพ > วตฺตพฺพ+อํ
รตฺโต (กลางคืน, ในราตรี) รตฺติ+สฺมึ, แปลง สฺมึ เป็น โอ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อาทิโต โอ จ. (รู ๑๘๖)
นาวจเนน ตัดบทเป็น น (ไม่) +อวจเนน (ด้วยการไม่พูด)
จ (ด้วย, และ) นิบาต
สญฺจเรยฺย (พึงเที่ยวไป, สัญจรไป, ประพฤติ) สํ+จร+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
ภยา (เพราะความกลัว, แต่ภัย) ภย+สฺมา
ภีโต (กลัวแล้ว, ผู้กลัว, คนกลัว) ภี+ต > ภีต+สิ
วเน (ในป่า, พนา) วน+สฺมึ
วนจรี (คนชอบเที่ยวป่า, นายพราน) วน+จร > วนจร+อี ปัจจัยในตัทธิต > วนจรี+สิ, ลบ สิ.
ยถา (เหมือน, ดุจ) นิบาตบอกการเปรียบเทียบ
คาถานี้ ค่อนข้างแปลยากหน่อยครับ จึงขอเอาคำแปลจากโลกนีติไตรพากย์ มาสรุปไว้ตามที่ปรากฎด้านบนนั้น พอเป็นแนวทางไปก่อนนะครับ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen