๑๓๙. ทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
สุราโยโค วิกาโล จ, สมชฺชจรณาลสํ;
ขิฑฺฑาธุตฺโต ปาปมิตฺโต, โภคนาสมุขา อิเมฯ
„เป็นนักเลงสุรา ๑ เที่ยวกลางคืน ๑
เที่ยวดูการละเล่น ๑ เกียจคร้านทำการงาน ๑
ชอบเล่นการพนัน ๑ คบคนชั่วเป็นมิตร ๑
เหล่านี้ เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลาย.“
(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๓๙, ธัมมนีติ ๒๒๙, กวิทัปปณนีติ ๓๒๔)
..
ศัพท์น่ารู้ :
สุราโยโค (ประกอบสุรา, ดื่มสุรา, ขายเหล้า) สุรา (เหล้า, สุรา) +โยค (การประกอบ) > สุราโยค+สิ
วิกาโล (ค่ำคื่น, ผิดกาลเวลา, เที่ยวกลาง) วิกาล+สิ
จ (ด้วย, และ) นิบาต
สมชฺชจรณาลสํ (การเที่ยวไปดูการละเล่นและความเกียจคร้าน) สมชฺช (การประชุม, การเล่นมหรสพ) + จรณ (การเที่ยวไป) > สมชฺชจรณ + อลส (ความเกียจคร้าน) > สมชฺชจรณาลส+สิ, ในกวิทัปปณนีติ เป็น สมชฺชจรณงฺคโต (ไปเพื่อเที่ยวดูการเล่น, ไปดูงานมหรสพ).
ขิฑฺฑาธุตฺโต (นักเลงการพนัน) ขิฑฺฑา (การเล่น, การร่าเริง, กีฬา) อิต. + ธุตฺต (นักเลง, นักเลงสกา) ป. > ขิฑฺฑาธุตฺต+สิ, ขิฑฺฑา อิต. (การเล่น, การร่าเริง, กีฬา), ธุตฺต ป. (นักเลง, นักเลงสกา)
ปาปมิตฺโต (มีมิตรชั่ว, มีเพื่อนเลว, ปาปมิตร) ปาป (บาป, ชั่ว) + มิตฺต (เพื่อน, มิตร) > ปาปมิตฺต+สิ
โภคนาสมุขา (ทางแห่งความเสื่อมแห่งโภคะ) โภค (โภคะ, สมบัติ) + นาส (ความพินาศ, เสื่อม, เสียหาย) + มุข (ทาง, ปาก, หน้า) > โภคนาสมุข+โย.
อิเม (เหล่านี้) อิม+โย
คาถานี้ เข้าใจว่าพระโบราณาจารย์ท่านย่อความจากสิงคาลกสูตร (ที. ปา. ๑๑/๑๗๘) ซึ่งมีข้อความเป็นร้อยแก้ว ดังนี้ คือ.
„กตมานิ ฉ โภคานํ อปายมุขานิ น เสวติ ฯ
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานานุโยโค โข คหปติปุตฺต โภคานํ อปายมุขํ,
วิกาลวิสิขาจริยานุโยโค โภคานํ อปายมุขํ, สมชฺชาภิจรณํ โภคานํ
อปายมุขํ, ชูตปฺปมาทฏฺฐานานุโยโค โภคานํ อปายมุขํ, ปาปมิตฺตานุโยโค
โภคานํ อปายมุขํ, อาลสฺสานุโยโค โภคานํ อปายมุขํ ฯ“
(คำแปล)
อริยสาวกย่อมไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ เป็นไฉน?
ดูกร คฤหบดีบุตร การประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการ
เที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในกลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การเที่ยว
ดูมหรสพเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ
เนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ
เนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ ฯ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen