๑๔๓. คนเรียนไม่สำเร็จ ๗ พวก
นิทฺทาลุโก ปมตฺโต จ, สุขตฺโต โรควาลโส;
มหิจฺโฉ กมฺมาราโม จ, สตฺเตเต สตฺถวชฺชิตาฯ
„คนเรียนไม่จบมี ๗ จำพวก คือ:
๑. คนชอบนอน ๒. คนประมาท
๓. คนชอบสบาย ๔. คนมีโรค ๕. คนขี้เกียจ
๖. คนมักมาก และ ๗. คนชอบทำงาน.“
(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๔๓, ธัมมนีติ ๓๓๑, มหารหนีติ ๙๓, กวิทัปปณนีติ ๓๒๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
นิทฺทาลุโก (คนนอนมาก, คนชอบนอน) นิทฺทาลุก+สิ, วิ. นิทฺทา อสฺส พหุลา, นิทฺทา วาสฺส ปกตีติ นิทฺทาลโก (เพราะเขานอนมาก หรือ นอนเป็นปกติ จึงชื่อว่า นิทฺทาลุก) นิทฺทา+อาลุ ปัจจัย ด้วยสูตรว่า อาลุ ตพฺพุเล. (รู ๓๘๔) + อาคม(ปัจจัย) ในอรรถสกัตถะ ด้วยสูตรว่า สพฺพโต โก. (รู ๒๒๔)
ปมาโท (คนประมาท) ปมาท+สิ
จ (ด้วย, และ) นิบาต
สุขตฺโต (คนมีตนเป็นสุข, คนมีความสุขในตน, คนมีความสบาย) สุข+อตฺต > สุขตฺต+สิ, ในธัมมนีติ เป็น สุขิโต (คนมีความสุข) สุขิต+สิ.
โรควาลโส ตัดบทเป็น โรควา+อลโส (คนมีโรคและคนเกียจคร้าน) โรควนฺตุ+สิ > โรควา, วิ. โรโค อสฺส อตฺถีติ โรควา (เพราะโรคมีอยู่แก่เขา เขาจึงชื่อว่า โรควา) โรค+วนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต., อลโส (คนขี้เกียจ) อลส +สิ >
มหิจฺโฉ (คนมักใหญ่, คนมักมาก) มหนฺต (> มหา) +อิจฺฉ > มหิจฺฉ+สิ, ในธัมมนีติ เป็ฯ นิจฺฉนฺโท (คนไม่มีฉันทะ) นิ+ฉนฺท > นิจฺฉนฺท+สิ
กมฺมาราโม (คนยินดีในการงาน, คนชอบทำงาน) กมฺม+อาราม > กมฺมาราม+สิ
จ (ด้วย, และ) นิบาต
สตฺเตเต ตัดบทเป็น สตฺต+เอเต (เจ็ด+เหล่านี้) สตฺต+โย > สตฺต, แปลง โย วิภัตติ กับที่สุดของสังขยา ตั้งแต่ ๕ (ปญฺจ) ถึง ๑๘ (อฏฺฐารส) เป็น อ § ปญฺจาทีนมกาโร. (รู ๒๑๕)
สตฺถวชฺชิตา (คนปราศจากศาสตร์, วิชา, ศิลปะ, ความรู้, คนเรียนไม่สำเร็จ) สตฺถ+วชฺชิต > สตฺถวชฺชิต+โย
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen