Donnerstag, 13. Oktober 2022

๑๕๐. ผู้บูชาย่อมได้ความโปรดปราน

๑๕๐. ผู้บูชาย่อมได้ความโปรดปราน


สมฺปุณฺณรกฺโข พฺรหฺมาว, อจฺจุรกฺโข พิสฺสโณ;

ตสฺมา หิ เต ปูชยนฺตุ, สทา มาเนนฺติ ตํ นรํฯ


พระหรหมทรงรักษากระดานดำ

พระวิษณุทรงรักษาผ้าห่อหนังสือ

เพราะฉะนั้นแล ผู้ศึกษาจงบูชาท่านเหล่านั้นไว้

ท่านทั้งสองจะโปรดปรานคนนั้นทุกคราวไป.“


(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๕๐)


..


ศัพท์น่ารู้ :


สมฺปุณฺณรกฺโข (ผู้รักษาโดยเต็มรูปแบบ, -อย่างสมบูรณ์, ผู้รักษากระดานดำ) สมฺปุณฺณ+รกฺข > สมฺปุณฺณรกฺข+สิ, ในโลกนีติไตรพากย์ เป็น สปฺปุณฺฑรกฺโข.

พฺรหฺมาว, ตัดบทเป็น พฺรหฺมา+เอว (พระพรหมนั่นเทียว) พฺรหฺม+สิ แปลง สิ เป็น อา ด้วยสูตรว่า สฺยา . (รู ๑๑๓)

อจฺจุรกฺโข (ผู้รักษาผ้าห่อ, -ผ้าห่อหนังสือ) อจฺจุ+รกฺข > อจฺจุรกฺข+สิ

(ด้วย, และ) นิบาต

พิสฺสโณ (พระวิษณุ) พิสฺสณ+สิ

ตสฺมา หิ  (ที่แท้ เพราะเหตุนั้น, เพราะเหตุนั้นแล) นิบาต

เต (เหล่านั้น) +โย สัพพาม

ปูชยนฺตุ (บูชา) ปูช+ณย+อนฺตุ จุราทิ. กัตตุ.

สทา (ในกาลทุกเมื่อ ตลอดกาลทั้งปวง) สพฺพ+ทา ปัจจัย.

มาเนนฺติ (นับถือ, เคารพ, บูชา, โปรดปราน) มาน+เณ+อนฺติ จุราทิ. กัตตุ. ที่จริง มาน เป็นได้ทั้งหมวดภูธาตุและจุรธาตุ สมดังในธาตวัตถสังคหะ คาถาที่ ๒๘๗ ว่า มาโน ภู วิจาเร ภูจุ, ปูชายํ จุ ตุ เปมเน. (มาน ธาตุเป็นไปในหมวดภูธาตุ ในอรรถว่า วิจาร, เป็นไปในภูธาตุและจุรธาตุ ในอรรถว่า ปูชา, ส่วนที่เป็นไปในหมวดจุรธาตุ (อย่างเดียว) ในอรรถความรัก.)

ตํ (นั้น) +อํ สัพพนาม

นรํ (คน, นระ, นรชน) นร+อํ


หมายเหตุ: มีหลายศัพท์ในคาถานี้ ที่เข้าไม่ถึง เช่น สมฺปุณฺณรกฺโข, อจฺจุรกฺโข, พิสฺสโณ  โชคดีที่ยังมีโลกนีติไตรพากย์ที่โบราณาจารย์ท่านได้แปลไว้ นับว่ามีประโยชน์อย่างมหาศาล ก็ว่าได้ เพราะว่า มันช่างเป็นดุจตะเกียงวิเศษช่วยส่องนำทางเมื่อยามมืดตื้อ. เป็นเหมือนแผนที่ชั้นดี ในเวลาเดินทางไกล, เป็นเหมือนเข็มทิศอย่างดี ที่คอยช่วยชี้ทิศทางยามหลงป่า. เพราะเหตุนี้ กระผมขอน้อมกราบท่านเหล่านั้นด้วยเคารพยิ่งแล.


..


 

Keine Kommentare: