๑๕๒. ไม่ควรรับประทานเนื้อโค
เย จ ขาทนฺติ โคมํสํ, มาตุ มํสํว ขาทเร;
มเตสุ เตสุ คิชฺฌานํ, ทเท โสเต จ วาหเยฯ
„คนเหล่าใด รับประทาน เนื้อโค
คนเหล่านั้น เหมือนเคี้ยวกินเนื้อมารดา
เมื่อโคทั้งหลายตาย ควรให้แก่พวกแร้ง
หรือให้คนเอาไปทิ้งในกระแสน้ำเถิด.“
(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๕๒, กวิทัปปณนีติ ๓๓๐)
..
ศัพท์น่ารู้ :
เย (เหล่าใด) ย+โย สัพพนาม
จ (ก็, ด้วย, และ) นิบาต
ขาทนฺติ (เคี้ยวกิน, รัปประทาน) √ขาท+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
โคมํสํ (เนื้อแห่งโค, เนื้อวัว) โค+มํส > โคมํส+อํ
มาตุ (ของมารดา, แห่งแม่) มาตุ+ส, ลบ ส วิภัตติและเอาที่สุดเป็น อุ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อุ สสฺมึ สโลโป จ. (รู ๑๖๒)
มํสํว ตัดบทเป็น มํสํ+อิว (เนื้อ + เหมือน, ดุจ)
ขาทเร (ย่อมเขี้ยวกิน, รับประทาน) √ขาท+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง อนฺติ เป็น เร ได้บ้าง.
มเตสุ (ตายแล้ว) √มร+ต > มต+สุ
เตสุ (เหล่านั้น) ต+สุ สัพพนาม
คิชฺฌานํ (นกแร้ง ท.) คิชฺฌ+นํ
ทเท (พึงให้) √ทา+อ+เอยฺย ภูวาทิ. ชุโหตยาทินัย กัตตุ.
โสเต (ในกระแสน้ำ) โสต+สฺมึ
จ (ด้วย, หรือ) นิบาต
วาหเย (พึงให้นำไป) √วห+ณย+เอยฺย ภูวาทิ. เหตุกัตตุ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen