๑๕๔. ฤกษ์เรียนฤกษ์ร้าย
อฎฺฐมิยํ คุรุํ หนฺติ, สิสฺสํ หนฺติ จตุทฺทสึ;
สิปฺปํ หนฺติ ทสมิยํ, มาตาปิตา จ ปุณฺณมึฯ
„ผู้ศึกษาในวัน ๘ ค่ำ เสมือนฆ่าครู
ในวัน ๑๔ ค่ำ เสมือนฆ่าศิษย์
ในวัน ๑๐ ค่ำ เสมือนฆ่าวิชา
ในวันเพ็ญ เสมือนฆ่ามารดาบิดา.“
(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๕๔)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อฎฺฐมิยํ (ในดิถีที่ ๘, วันแปดค่ำ) อฏฺฐมี+สฺมึ
คุรุํ (ครู, อาจารย์) คุรุ+อํ
หนฺติ (ฆ่า, กำจัด, เบียดเบียน) หน+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. เป็นเอกพจน์. ให้ลบที่สุดธาตุและอปัจจัย. ถ้าเป็นหพูพจน์ เป็น หนนฺติ (หน+อ+อนฺติ)
สิสฺสํ (ศิษย์, นักศึกษา) สิสฺส+อํ
จตุทฺทสึ (วันเพ็ญ ๑๔ ค่ำ) จตุทฺทสี+สฺมึ, แปลง สฺมึ เป็น อํ ได้บ้าง ด้วย จ ศัพท์ในสูตรว่า อาทิโต โอ จ. (รู ๑๘๖)
สิปฺปํ (ศิลปะ, วิชา, ความรู้) สิปฺป+อํ
ทสมิยํ (ในวันขี้น ๑๐ ค่ำ) ทสมี+สฺมึ ในต้นฉบับฉัฏฐสังคายนา บาทคาถานี้ เป็น สิปฺปํ หนฺติ ทส สิปฺปํ, น่าจะเป็นบทคลาดเคลื่อน เลยแก้เป็น ...ทสมิยํ ตามในโลกนีติไตรพากย์.
มาตาปิตา (มารดาและบิดา) มาตาปิตุ+โย, ปกติควรเป็น มาตาปิตรํ, มาตาปิตเร, มาตาปิตโร.
จ (ด้วย, และ) นิบาต
ปุณฺณมึ (ในวันเพ็ญ, วันขึ้น ๑๕ ค่า) ปุณฺณมี+สฺมึ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen