๑๕๕. ข้อห้ามยามเรียนศิลป์
นาฬิกํ สตฺต น ภุญฺเช, น ลาพุํ นวมํ ตถา;
ทฺวาทส ปฺรินฺนํ ตฺริมินํ, ภุญฺเช สิปฺปํ วินสฺสติฯ
„ผู้เริ่มเรียนศิลปะไม่พึงกินมะพร้าวในวัน ๗ ค่ำ
ในวัน ๙ ค่ำ อย่ากินน้ำเต้า, มันปินนังในวัน ๑๒ ค่ำ
และแกงในวัน ๓ ค่ำ ห้ามกิน, ถ้ากิน วิชาของตนจะเสื่อม.“
(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๕๕)
..
ศัพท์น่ารู้ :
นาฬิกํ, นาฬิเกรํ (มะพร้าว) นาฬิก+อํ, นาฬิเกร (ต้นมะพร้าว) ป., (มะพร้าว) นป.
สตฺต (เจ็ด, วันเจ็ดค่ำ) สตฺต+สฺมึ
น ภุญฺเช (ไม่พึงกิน, อย่ากิน) √ภุช+อํ+อ+เอยฺย รุธาทิ. กัตตุ.
น ลาพุํ (ไม่พึงกินน้ำเต้า) ลาพุ+อํ, อิต., ใช้เป็น ลาปุ ก็มี.
นวมํ (ที่เก้า, วันเก้าค่ำ) นวม+อํ
ตถา (เหมือนอย่างนั้น, เช่นเดียวกัน) นิบาต
ทฺวาทส (สิบสอง, วัน ๑๒ ค่ำ) ทฺวาทส+สฺมึ
ปฺรินฺนํ (?) ปฺรินฺน+อํ, ไม่ทราบว่าเป็นผลอะไร? ในโลกนิตีไตรพากย์ท่านแปลทับศัพท์ว่า มันปินนํ (คงเป็นมันชนิดหนึ่ง.
ตฺริมินํ (? แปลไม่ออก แต่ท่านแปลว่า „ไม่ควรกินแกงในวัน ๓ ค่ำ“) หมายเหตุ : ศัพท์นี้ก็แปลตามท่าน. ในนั้นบาฬีเป็น ตฺริมินฺนํ.
ภุญฺเช (พึงกิน, พึงรับประทาน) √ภุช+อํ+อ+เอยฺย รุธาทิ. กัตตุ.
สิปฺปํ (ศิลปะ, วิชา, ความรู้) สิปฺป+สิ
วินสฺสติ (พินาศ, เสียหาย) วิ+นส+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen