Donnerstag, 20. Oktober 2022

๑๕๘. สถานที่ไม่ควรอยู่

 

๑๕๘. สถานที่ไม่ควรอยู่


ยมฺหิ ปเทเส มาโน, เปมํ พนฺธวา;

วิชฺชาคาโห โกจิ, ตตฺถ วสนํ กเรฯ


ที่ใดไม่มีความนับถือกัน,

ไม่มีความรักให้กัน ไม่มีญาติพี่น้อง;

และไม่มีการศึกษาวิชาความรู้,

ที่นั้น ผู้มีปัญญา ไม่ควรอยู่อาศัย.“


(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๕๘, ๑๑๔ ธัมมนีติ-๘๒, มหารหนีติ ๖๙, กวิทัปปณนีติ ๑๑๗, จาณักยนีติ ๓๗)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ยสฺมึ (ใด) +สฺมึ 

ปเทเส (ในประเทศ) เทส+สฺมึ 

(ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ

มาโน (ความนับถือกัน) มาน+สิ, ในธัมมนีติ เป็น สมาโน (มีความเสมอกัน, มีความนับถือกัน, การบูชา) สมฺมาน+สิ (ในกวิทัปปณนีติ เป็น สมฺมาโน)

เปมํ (ความรัก) เปม+สิ, ในธัมมนีติ เป็น ปีติ (ความปีติ, ยินดี, แช่มชื่นใจ) ปีติ+สิ, กวิทัปปณนีติ เป็น ปิโย (ความรัก).

(ด้วย, และ) เป็นนิบาตใช้ในอรรถรวบรวม (สมุจจยัตถะ)


พนฺธวา (เผ่าพันธุ์, ญาติ) พนฺธว+โย,  ในธัมมนีติ เป็น พนฺธโว (ญาติ, พวกพ้อง, เผ่าพันธุ์ .) พนฺธุ+โย แปลง โย เป็น โว ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ลโต โวกาโร . (รู ๑๕๕), แปลง อุ เป็น ด้วยสูตรว่า เวโวสุ โล . (๑๕๖) สำเร็จรูปเป็น พนฺธโว (ญาติ .) แจกและทำตัวเหมือน ภิกฺขุ (พระภิกษุ)

วิชฺชาคาโห (การถือเอาวิชา, เรียนวิชา) วิชฺชา+คาห > วิชฺชาคาห+สิ, ในธัมมนีติเป็นต้นแม้แต่ในโลกนีติคาถาที่ ๑๑๔ เป็น วิชฺชาคโม (การเรียน-, การศึกษาวิชา) วิชฺขา+อาคม > วิชฺชาคม+สิ วิ. วิชฺชาย อาคโม วิชฺชาคโม (การเรียนวิชา ชื่อว่า วิชฺชาคโม) ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส

โกจิ (ไรๆ, บางอย่าง, บ้างเลย) -ปุงลิงค์, กาจิ -อิตฺถีลิงค์, กิญฺจิ -นปุงสกลิงค์ มาจาก กึ+สิ+จิ 

ตตฺถ (ในประเทศนั้น = ตสฺมึ ปเทเส) + ลง ปัจจัยหลังสัพพนามทั้งหลาย ในอรรถสัตตมีวิภัตติ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ตฺรถ สตฺตมิยา สพฺพนาเมหิ. (รู ๒๖๖) 

วสนํ (การอยู่, การอาศัย) วสน+อํ

กเร (พึงกระทำ)  กร+โอ+เอยฺย ตนาทิ. กัตตุ. 

บาทคาถาสุดท้าย อาจใช้ใด้หลายสำนวนแต่ความเดียวกัน เช่น ตตฺถ ทิวสํ วเสฯ (ไม่พึงอยู่ในที่นั้นสิ้นวัน), ตํ เทสํ ปริวชฺชเย (พึงเว้นห่างสถานที่นั้น) เป็นต้น. ส่วนในคาถานี้ ตตฺถ วสนํ กเร แปลว่า ไม่พึงกระทำซึ่งการอยู่ในที่นั้น = ไม่พึงอยู่ในที่นั้น.


..


Keine Kommentare: