๑๕๙. ก้าวอย่างมั่นใจ
จรตฺเยเกน ปาเทน, ติฎฺฐตฺเยเกน ปณฺฑิโต;
อนิสมฺม ปรํ ฐานํ, น ปุพฺพมาลยํ ชเหฯ
„คนมีปัญญาย่อมเดินไปด้วยเท้าข้างหนึ่ง
และทรงทรงตนไว้ด้วยเท้าข้างหนึ่ง
หากมิไม่ทันพิจารณาฐานอื่นแล้ว
ย่อมจะไม่ละทิ้งที่เคยอยู่ก่อน.“
(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๕๙, ธัมมนีติ ๘๖, มหารหนีติ ๗๗, จาณักยนีติ ๓๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
จรตฺเยเกน ตัดบทเป็น จรติ+เอเกน (ย่อมเที่ยวไป + ข้างหนึ่ง) จร+อ+ติ = จรติ ภูวาทิ. กัตตุ. ในธัมมนีติ เป็น จลตฺเยเกน ตัดบทเป็น จลติ+เอเกน, √จล+อ+ติ = จลติ (ย่อมเคลื่อน, ย้าย, ย่าง) ภูวาทิ. กัตตุ., เอก+นา = เอเกน (ข้างหนึง, ข้างเดียว).
ปาเทน (ด้วยเท้า, บาทา) ปาท+นา
ติฎฺฐตฺเยเกน ตัดบทเป็น ติฏฺฐติ+เอเกน, √ฐา+อ+ติ = ติฏฺฐติ (ยืน, ตั้ง, ดำรง) ภูวาทิ. กัตตุ. แปล ฐา เป็น ติฏฺฐ ได้บ้าง § ฐา ติฏฺโฐ. (๔๙๒)
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ
อนิสมฺม (ไม่พิจารณาแล้ว) น+นิสมฺม > อนิสมฺม, นิสมฺม มาจาก นิ+√สมุ+ตฺวา ปัจจัย แปลง ม ที่สุดธาตุกับ ตฺวา เป็น มฺม ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า มหทเภหิ มฺม-ยฺห-ชฺช-พฺภทฺธา จ. (รู ๖๔๕), ในธัมมนีติ เป็น นาสมิกฺขฺย ตัดบทเป็น น+อสมิกฺขฺย ๆ น+สมิกฺขฺย = อสมิกฺขฺย (มหารหนีติ เป็น อสมิขฺย) สมิกฺขฺย ไม่แน่ใจว่าทำตัวอย่างไร แต่ถ้าให้เดา ก็น่าจะมาจาก สํ+√อิกฺข+ตฺวา.
ปรํ (อื่น, ข้างหลัง) ปร+อํ
ฐานํ (ที่, ฐาน, สถานที่) ฐาน+อํ
ปุพฺพมาลยํ ตัดบทเป็น ปุพฺพํ+อาลยํ หรือถ้าเป็นสมาสก็ให้ลง ม อาคม, แปลว่า ที่อยู่อาศัยในก่อน, ที่เคยอยู่มาก่อน, ในธัมมนีติเป็น ปุพฺพมายตนํ ตัดบทเป็น ปุพฺพํ (ก่อน, ข้างหน้า) +อายตนํ (ที่อยู่, ที่อาศัย, บ่อเกิด, เครื่องต่อ,ส่วน, อายตนะ) ทั้งสองศัพท์เป็น ทุติยาวิภัตติ
ชเห (พึงละ, พึงสละ) √หา+อ+เอยฺย ภูวาทิ. ชุโหตฺยาทินัย, กัตตุ. ในธัมมนีติ เป็น จเช (พึงสละ, ละทิ้ง) √จช+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen