Samstag, 22. Oktober 2022

๑๖๐. เวลาที่ไม่ควรอาย

๑๖๐. เวลาที่ไม่ควรอาย


ธนธญฺญปโยเคสุ, ตถา วิชฺชาคเมสุ ;

ทูเตสุ อปจาเรสุ, จชฺชา ลชฺชา ตทา ภเวฯ


ในเวลาค้าขายทำการงาน 

ในเวลาเรียนวิชาหาความรู้

ในเวลาติดต่อเจรจา และ 

ในเวลาที่เสื่อม(หมดบุญ)

เวลานั้น บุคคลควรละความละอายเถิด.“


(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๖๐, ธัมมนีติ ๒๐๓, มหารหนีติ ๒๔๖, กวิทัปปณนีติ ๑๔๘, จาณักยนีติ ๓๕)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ธนธญฺญปฺปโยเคสุ (ในการประกอบทรัพย์และธัญญพืช ., ในการทำมาหากิน, ในการประกอบอาชีพ) ธน (ทรัพย์) +ธญฺญ (ข้าวเปลือก) +ปโยค (การประกอบ, การค้าขาย) > ธนธญฺญปฺปโยค+สุ 

ตถา (เหมือนอย่างนั้น,​ เช่นกัน) นิบาต

วิชฺชาคเมสุ (ในการเรียนวิชา .) วิชฺชา+อาคม > วิชฺชาคม+สุ 

ทูเตสุ (ในการทูต, การติดต่อ,​ เจรจา) ทูต+สุ

อปจาเรสุ (ความเสื่อม,​ โทษ,​ การกระทำผิด) อปจาร+สุ

จตฺตลชฺโช (ผู้มีความละอายสละแล้ว) จตฺต+ลชฺชา > จตฺตลชฺช+สิ 

จชฺชา (ควรสละ, ควรทิ้งเสีย) √จช+ณฺย > จชฺช+อา > จชฺชา+สิ

ลชฺขา (ความละอาย, กระดาก, เขิน) ลชฺชา+สิ อิต. (ในมหารหนีติ, กวิทัปปณนีติ, และจาณักยนีติ ศัพท์ท่านใช้เป็นสมาสเหมือนกัน คือจตฺตลชฺโชแปลว่า ผู้มีความละอายอันตนสละแล้ว,

ตทา (ในกาลนั้น) +ทา ปัจจัย ในธัมมนีติ เป็น สทา (ทุกเมื่อ, ทุกเวลา) สพฺพ+ทา > สทา

ภเว (พึงเป็น) √ภู++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.


..


 

Keine Kommentare: