Mittwoch, 19. Oktober 2022

๑๕๗. อยู่อาจตาย ไปอาจรอด

๑๕๗. อยู่อาจตาย ไปอาจรอด


เทสํ โอสชฺช คจฺฉนฺติ, สีโห สปฺปุริโส คโช;

ตตฺเถว นิธนํ ยนฺติ, กาโก กาปุริโส มิโคฯ


ราชสีห์ สัตบุรุษ ช้าง

ละทิ้งสถานที่อยู่แล้ว ย่อมหนีไป

(หาความเจริญ), ส่วนกา คนชั่ว  

เนื้อ ย่อมถึงความตาย ในที่นั้นแล.“


(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๕๗, ธัมมนีติ-๘๔, มหารหนีติ ๖๘)


..


ศัพท์น่ารู้ :


เทสํ (ประเทศ, สถานที่,​ ถิ่นที่อยู่) เทส+อํ, ในธัมมนีติ สนธิเป็น เทสโมสชฺช

โอสชฺช (ละ, ทิ้ง, ถอยออก) อว+√สช+ตฺวา แปลง ตฺวา เป็น § สพฺเพหิ ตุนาทีนํ โย. (รู ๖๔๑) แปลง กับที่สุดธาตุเป็น และเทฺวภาวะ § ตถา กตฺตริ . (รู ๕๑๑)

คจฺฉนฺติ (ย่อมไป) √คมุ++อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.

สีโห (ราชสีห์) สีห+สิ

สปฺปุริโส (สัตบุรุษ, คนประเสริฐ,​ คนดี) สนฺต+ปริส > สปฺปุริส+สิ

คโช (ช้าง, คชสาร) คช+สิ

ตตฺเถว ตัดบทเป็น ตตฺถ+เอว (ในที่นั้น นั่นเทียว) 

นิธนํ (ความตาย) นิธน+อํ (. นป.)

ยนฺติ (ย่อมถึง, ย่อมไป) √ยา++อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.

กาโก (กา, นกกา .) กาก+สิ

กาปุริโส (บุรุษผู้น่าเกลียด, คนชั่ว, คนเลว) กุ+ปุริส > กาปุริส+สิ, แปลง กุ (= กุจฺฉิต - น่าเกลียด) เป็น กา ได้บ้าง § กกปฺปตฺเถสุ . (รู ๓๔๗)

มิโค (เนื้อ .) มิค+สิ


ในธัมมนีติและมหารหนีติ ท่านใช้เป็นพหูพจน์ คือ สีหา, สปฺปุริสา, คชา, กากา, กาปุริสา, มิคา.


วิเคราะห์คำว่า ช้าง.

คโช (ช้าง) มาจาก คช-มทฺทนสทฺเทสุ (ในความเมาและออกเสียง) + ปัจจัย,

วิ. คชตีติ คโช.

(สัตว์ที่ชื่อว่า ช้าง เพราะอรรถว่า เป็นผู้ร้องคำราม) 


คช เป็นได้ คณะธาตุ คือ

. ถ้าเป็น หมวดภูธาตุ ให้แจกเป็น : คชติ คชนฺติ, คชสิ คชถ, คชามิ คชาม เป็นต้น

. ถ้าเป็น หมวดจุรธาตุ ให้แจกเป็น : คเชติ คเชนฺติ คชยติ คชยนฺติ, คเชสิ คเชถ คชยสิ คชยถ, คเชมิ คเชม คชยามิ คชยาม เป็นต้น


..


 

Keine Kommentare: