Freitag, 11. November 2022

๖. วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ

. วัตร อย่างที่ศิษย์ควรทำ


อุฎฺฐานา อุปฎฺฐานา , สุสฺสุสา ปริจาริกา;

สกฺกจฺจํ สิปฺปุคฺคหณํ, ครุํ อาราธเย พุโธ.


นักศึกษาผู้ฉลาดพึงยังครูให้ยินดี (ด้วยวัตร ประการ คือ)

. ด้วยการลุกขึ้นรับ 

. ด้วยการอุปัฏฐาก 

. ด้วยการเชื่อฟัง  

. ด้วยการปรนนิบัติด้วยดี  และ

. ด้วยการเรียนวิชาโดยเคารพ


(ธรรมนีติ อาจริยกถา , การิกา ๗๖***)


--


ศัพท์น่ารู้ :


อุฎฺฐานา (การยืนขึ้น, ยืนรับ) อุ+√ฐา+ยุ > อุฏฺฐาน+สฺมา หรือไม่ก็ อุ+√ฐา+ยุ+อา > อุฏฺฐานา+สิ หากคำนึงถึง สุสฺสูสา, ปริจาริกา และ สิปฺปุคฺคหณา เป็นเกณฑ์.

อุปฎฺฐานา (การเข้าไปตั้งไว้, การอุปัฏฐาก, การรับใช้)  อุป+√ฐา+ยุ (อา)> อุปฏฺฐาน+สฺมา (อุปฏฺฐานา+สิ)

สุสฺสุสา, สุสฺสูสา (ตั้งใจฟัง, ปรารถนาเพื่ออันฟัง) √สุ+++อา > สุสฺสูสา+สิ 

ปริจาริกา (การปรนนิบัติ, ดูแลใกล้ชิด) ปริจาริกา+สิ

สกฺกจฺจํ (โดยเคารพ) สกฺกจฺจ+สิ.

สิปฺปุคฺคหณํ (การเรียนศิลปะ, การถือเอาวิชา) สิปฺป+อุคฺคหณ > สิปฺปุคฺคหณ+สิ  

ครุํ (ครู, ผู้หนักแน่น, ผู้ควรให้ความเคารพ) ครุ+อํ 

อาราธเย (พึงให้พอใจ,​ ให้ชอบใจ, ให้ยินดี) อา+√ราธ+ณย+เอยฺย เหตุกัตตุวาจก, √ราธ ธาตุมี อา เป็นบทหน้า มีอรรรถว่า ยินดี (โตสนะ) ถ้ามี อป เป็นบทหน้า มีอรรถว่า ประทุษร้าย ละเมิด (ปทุฏฐะ) เช่น อปราเธติ แปลว่า ฝ่าฝืน, ละเมิด. นามศัพท์เป็น อปราธ . โทษ, ความผิด, พิรุธ, มลทิน.

พุโธ (ผู้รู้, ผู้ตื่น, ผู้ฉลาด, นักศึกษา) พุธ+สิ.



***หมายเหตุ: คาถานี้ในปทรูปสิทธิมัญชรี   หน้า ๒๐ มีข้อความต่างกันนิดหน่อย ดังนี้



อุฎฺฐานา อุปฎฺฐานา , สุสฺสุสา สุปริคฺคหา;

สกฺกจฺจํ สิปฺปุคฺคหณา, ครุํ อาราธเย พุโธฯ


_______________


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



การลุกรับ และการบำรุง 

การเชื่อฟังแการบำเรอ 

การเรียนศิปลโดยเคารพ [ความดีเหล่านี้] 

คนฉลาด พึงยังครูให้โปรดปรานได้.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...


การลุกรับ การรับใช้ ความเชื่อฟัง  

การปรนนิบัติ การตั้งใจเล่าเรียนวิชาโดยเคารพ

เหล่านี้ ศิษย์ที่ฉลาดและสามารถก็จะทำให้ครูโปรดปรานได้.


--


 

Keine Kommentare: