Sonntag, 13. November 2022

๙. รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น

. รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น


สมฺมา อุปปริกฺขิตฺวา; อกฺขเรสุ ปเทสุ ;

โจรฆาโต สิสฺโส สิยา, ครุ โจรฎฺฎการโก.


นักศึกษาครั้นพิจารณาในอักษร

และในบทอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว,

พึงเป็นดุจตำรวจจับผู้ร้าย(ฆ่าโจร),

ส่วนครูพึงเป็นดุจผู้ตัดสินคดีแก่โจร.


(ธรรมนีติ อาจริยกถา , กวิทัปปณนีติ ๑๗๒, มหารหนีติ ๑๑๐)


--


ศัพท์น่ารู้ :


สมฺมา: (โดยชอบ) นิ. ใช้ในอรรถตติยาวิภัตติ นิบาตชุดนี้ มี ตัว คือ สยํ, สามํ, สํ, สมฺมา, กินฺติ.

อุปปริกฺขิตฺวา: (เห็นรอบ, พิจารณา, สำรวจ, สอบทาน) อุป+ปริ+อิกฺข+อิ+ตฺวา กิต.


อกฺขเรสุ: (ในอักษร .) อกฺขร+สุ 

ปเทสุ: (ในบท .) ปท+สุ 

: (ด้วย, และ) นิ.


โจรฆาโต: (ผู้ฆ่าโจร, คนจับโจร, -ขโมย) โจรฆาต+สิ วิ. โจรํ หนตีติ โจรฆาโต (ผู้เบียดเบียนโจร ชื่อว่า โจรฆาตะ) โจร+หน++สิ, แปลง หน เป็น ฆาต ด้วยสูตรว่า หนสฺส ฆาโต. (รู ๕๔๔) เป็น อมาทิปรตัปปุริสสมาส

สิยา: (พึงเป็น, พึงมี) อส++เอยฺย, หลัง อส ธาตุแปลง เอยฺย, เอยฺยุํ เป็น อิยา, อิยุํ ตามลำดับ ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุฯ. (รู ๔๘๘) มีรูปเป็น สิยา, สิยุํ

สิสฺโส: (ศิษย์, นักศึกษา) สิสฺส+สิ


คุรุ: (ครู, อาจารย์) คุรุ+สิ 

โจรฎฺฎการโก: (ผู้ตัดสินคดีแก่โจร, ผู้พิพากษาแก่โจร) โจรฏฺฏการก+สิ วิ. อฏฺฏํ กโรตีติ อฏฺฏการโก (ผู้ตัดสินคดีความ ชื่อว่า อัฏฏการกะ) อฏฺฏ+กร+ณฺวุ+สิ, วิ. โจรสฺส อฏฺฏการโก โจรฏฺฏการโก (ผู้ตัดสินคดีแก่โจร ชื่อว่า โจรัฏฏการกะ) จตุตถีตัป.


_____________


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ศิษย์ที่เข้าใจหาเหตุในอักษร แลอุปเทศโดยชอบแล้ว 

หากว่าจะกลายเป็นนายโจรฆาตก์ (ผู้ฆ่าโจร)ไซร์ 

ครูก็ต้องเป็นคนทำการขึ้งเคียดโจรด้วย.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...


ศิษย์ที่เข้าใจเหตุในอักษรและหลักของครูโดยถ่องแท้

ถึงหากว่าจะกลายเป็นโจรเพชฌฆาตไซร์ 

ครูก็ก็ต้องเป็นผู้มีส่วนด้วย.


--


 

Keine Kommentare: