๑๙. ลูกเอ๋ย! อย่าเกียจคร้าน
โพธ ปุตฺร กิมาลสฺเส, อโพโธ ภารวาหโก;
โพธโก ปูชิโต โลเก, โพธ ปุตฺร ทิเน ทิเน.
ลูกเอ๋ย ! เจ้าจงเรียนรู้ จะเกียจคร้านอยู่ทำไม,
คนที่ไม่มีความรู้ จะต้องแบกหามทำงานหนัก;
ในโลกนี้ คนมีความรู้ย่อมได้รับความนับถือบูชา,
ลูกเอ๋ย ! เจ้าจงศึกษาหาความรู้ทุก ๆ วันเถิด.
(ธรรมนีติ สิปปกถา ๑๙, โลกนีติ ๑๗)
--
ศัพท์น่ารู้ :
ปุตฺร (แน่ะลูก, แน่ะบุตร) ปุตฺร+สิ เป็นอาลปนวิภัตติ, ปุตฺร เป็นศัพท์คู่แฝดกับ ปุตฺต ที่แปลว่า บุตร, ลูก สำเร็จมาจากปัจจัยคู่แฝดในอุณาทิกัณฑ์ด้วยสูตรว่า ฉทาทีหิ ตตฺรณฺ. (รู ๖๖๖) ตั้งวิเคราะห์ว่า ปุนาตีติ ปุตฺโต, ปุตฺโร (ปุตฺต, ปุตฺร คือ ผู้ชำระ พ่อแม่ให้สะอาด)
ศัพท์อื่นที่ลงปัจจัยคู่แฝดนี้มีอีกมาก เช่น ฉตฺตํ, ฉตฺรํ (ร่ม), จิตฺตํ, จิตฺรํ (จิต), สุตฺตํ, สุตฺรํ (ด้าย), สุตฺตํ (อาหาร), โสตํ, โสตฺรํ (หู), เนตฺตํ, เนตฺรํ (นัยน์ตา), ปวิตฺตํ, ปวิตฺรํ (ความดี, การชำระ), ปตฺตํ, ปตฺรํ (การถึง), ปตฺโต, ปตฺโร (บาตร), ตนฺตํ, ตนฺตรํ (แผ่ขยาย) เป็นต้น.
วันนี้ ก็คล้ายความสงสัยศัพท์ว่า ปุตฺร ไปแล้วหนึ่งศัพท์ คงยังเหลือแต่ วิตฺยํ หรือ วิตฺย ที่ยังไม่พบที่มา ของฝากไว้ก่อนครับ. :-)
กิมาลสฺเส ตัดบทเป็น กึ+อาลสฺเส (ขี้เกียจไปทำไม) อาลสฺเส น่าจะมาจาก อา+ลส+ย+เอยฺย ทิวาทิคณะ กัตตุวาจก ท่านผู้รู้ช่วยพิจารณาเถิด.
อโพโธ (คนไม่มีความรู้) น+โพธ > อโพธ+สิ, วิ. น โพโธ อโพโธ. (อโพธะ คือ คนไม่รู้)
ภารวาหโก (ผู้นำไปซึ่งภาระ, คนแบกหาม, คนทำงานหนัก) ภาร+วาหก > ภารวาหก+สิ
ทิเน ทิเน (ทุก ๆ วัน ) การกล่าวศัพท์ซ้ำกันเรียกว่า อาเมฑิตะ (อภิธาน. ๑๐๖)
คาถานี้ในคัมภีร์โลกนีติ มีข้อความต่างกันเป็นบ้างศัพท์ ดังนี้
พฺยตฺต ปุตฺร กิมลโส, อพฺยตฺโต ภารหารโก;
พฺยตฺตโก ปูชิโต โลเก, พฺยตฺต ปุตฺร ทิเน ทิเน.
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
จงเป็นนักปราชญ์เถิดลูก มัวคร้านอยู่ใย
คนโง่ต้องเป็นคนแบกหาม ในโลกนี้
เขา บูชานักนักปราชญ์กันลูกเอย
เจ้าจงเป็นคนฉลาดทุก ๆ วันเถิด.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen