Freitag, 7. Juli 2023

๒๒๙. ผลของความเลวทราม

๒๒๙. ผลของความเลวทราม


สุราโยโค วิกาโล , สมชฺชานฆรงฺคโต;

ขิฑฺฑธุตฺโต ปาปมิตฺโต, อลโส อิเม ชนา;

มหาโภคา วินสฺสนฺติ, หีนภาวสฺสิทํ ผลํ.


เป็นนักเลงสุรา เที่ยวกลางคืน  

เที่ยวดูการละเล่น เล่นการพนัน

คบมิตรชั่ว และเกียจคร้านทำงาน

ชนเหล่านี้ ถึงมีโภคะมาก ก็จะฉิบหาย

นี้เป็นผลของความเลวทราม.


(ธรรมนีติ อกตกถา ๒๒๙, กวิทปฺปณนีติ ๓๒๔, โลกนีติ ๑๓๙)


--


ศัพท์น่ารู้ :


สุราโยโค (ประกอบสุรา, ดื่มสุรา, ขายเหล้า) สุรา+โยค > สุราโยค+สิ  

วิกาโล (ค่ำคื่น, วิกาล, เที่ยวกลาง) วิกาล+สิ  

: (ด้วย, และ) นิบาต 

สมชฺชจรณงฺคโต (เที่ยวดูการเล่น, เทียวดูงานมหรสพ) สมชฺช (ที่ประชุม, การประชุม, การเล่นมหรสพ) นป. +จรณ (การเที่ยวไป) นป. +คต (ไปแล้ว) . > สมชฺชจรณงฺคต+สิ


ขิฑฺฑาธุตฺโต (นักเลงการพนัน) ขิฑฺฑา (การเล่น, การร่าเริง, กีฬา) อิต. + ธุตฺต  (นักเลง,​ นักเลงสกา) . > ขิฑฺฑาธุตฺต+สิ, ขิฑฺฑา อิต. (การเล่น, การร่าเริง, กีฬา), ธุตฺต . (นักเลง, นักเลงสกา) 

ปาปมิตฺโต (มีมิตรชั่ว, มีเพื่อนเลว, ปาปมิตร) ปาป (บาป, ชั่ว) นป. + มิตฺต (เพื่อน, มิตร) . >  ปาปมิตฺต+สิ

อลโส (เกียจคร้าน, สันหลังยาว) อลส+สิ 

(ด้วย, และ) นิบาต (หมายเหตุ: เดิม เป็น อลโสโส ได้แก้ เป็น อลโส ตามฉบับราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ซึงถือว่าถูกต้องและเหมาะสม)

อิเม (เหล่านี้) อิม+โย สัพพนาม

ชนา (ชน .) ชน+โย

มหาโภคา (โภคะจำนวนมาก, มหาโภคะ, ทรัพย์สินเงินทอง) มหนฺต+โภค > มหาโภค+โย

วินสฺสนฺติ (พินาศ, เสียหาย) วิ+√นส++อนฺติ ทิวาทิ. กัตตุ.

หีนภาวสฺสิทํ ตัดบทเป็น หีนภาวสฺส (แห่งความเป็นคนเลว) +อิทํ (ข้อนี้, กรรมนี้)

ผลํ (ผล, ลาภ, ประโยชน์) ผล+สิ



--


ลำดับนี้ขอนำเอาคาถาเดียวกันนี้ ที่ปรากฏในคัมภีร์นีติอื่น มาเปรียบเทียบกันเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิธีใช้ศัพท์ที่ต่างกันออกไป เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอักษรต่อไป.



. ในกวิทัปปณนีติ คาถา ๓๒๔ มีข้อความเพียงสี่บาทคาถา ดังนี้


สุราโยโค เวลาโล , สมชฺชจรณงฺคโต;

ขิฑฺฑาธุตฺโต ปาปมิตฺโต, อลโส โภคนาสกา.


เหตุทำให้ทรัพย์เสียหาย ประการ คือ:

. ดื่มสุรา 

. เที่ยวกลางคืน

. เที่ยวดูการการละเล่น

. เป็นนักเลงการพนัน (เล่นการพนัน)

. คบคนชั่วเป็นมิตร และ

. เกียจคร้านทำการงาน.


(ให้สังเกตในบาทคาถาแรก ศัพท์ว่าเวลาโลคงจะคลาดเคลื่อนมาจาก วิกาโล)



. ในโลกนีติ คาถา ๑๓๙ บาทคาถที่ และบาทคาถาที่ มีข้อความต่างกันนิดหน่อย สังเกตเห็นชัดเจน พร้อมกันนี้ได้นำคำแปลจากโลกนีติไตรพากย์ (พากย์โลกนีติ) มาแสดงไว้เพื่อความสมบูรณ์และเพื่อประโยชน์การการศึกษาต่อไป.


สุราโยโค วิกาโล , สมชฺชจรณาลสํ;

ขิฑฺฑาธุตฺโต ปาปมิตฺโต, โภคนาสมุขา อิเม.


นักเลงสุรา เที่ยวกลางคืน ดูการเล่น เล่นการพนัน

คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้านทำการงาน เหล่านี้

เป็นความเสื่อมแห่งโภคะ.


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



เป็นนักเลงเหล้า เที่ยวกลางคืน ไปสู่โรง

มหสพดู เป็นนักเลงเล่น คบมิตรชั่ว

เกียจคร้าน ชนเหล่านี้แม้มีโภคะมากก็ต้อง

ฉิบหาย  นี้แลผลแห่งความชั่วช้า.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


เป็นนักเลงขี้เมา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น

เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้าน

ทั้ง นี้เป็นเหตุแห่งความเสื่อม 

ผู้ประพฤติกรรมเหล่านี้ แม้มีทรัพย์ก็ต้องยากจน.


--


 

Keine Kommentare: