๒๗๒. กำลังของชาติ
กสฺสโก วาณิโชมจฺโจ, สมโณ สุตสีลวา;
เตสุ วิปุลชาเตสุ, รฎฺฐํปิ วิปุลํ สิยา.
ชาวนา ๑ พ่อค้า ๑ ข้าราชการ ๑,
และสมณะ มีความรู้ มีศีลบริสุทธิ์ ๑,
เมื่อชนเหล่านี้ มีเป็นส่วนมาก,
แม้ประเทศ จำเจริญรุ่งเรืองไปด้วย.
(ธรรมนีติ ราชธรรมกถา ๒๗๒, มหารหนีติ ๑๖๔, กวิทัปปณนีติ ๒๗๐, โลกนีติ ๑๖๓)
--
ศัพท์น่ารู้ :
กสฺสโก (ชาวนา, เกษตรกร) กสฺสก+สิ
วาณิโชมจฺโจ ตัดบทเป็น วาณิโช (พ่อค้า, พาณิช) วาณิช+สิ,+ อามจฺโจ (อำมาตย์, ข้าราชการ) อามจฺจ+สิ
สมโณ (ผู้สงบ, สมณะ, นักบวช) สมณ+สิ วิ. สเมตีติ สมโณ (ผู้สงบ ชื่อว่า สมณะ) หรือ วิ. สมียติ ปาปํ อเนนาติ สมโณ (ผู้สงบระงับบาปได้ ชื่อว่า สมณะ) มาจาก สมุ+ยุ แปลง ยุ เป็น อน แปลง น เป็น ณ.
สุตสีลวา (ผู้มีสุตะมีความรู้) สุต+สีล > สุตสีล+วนฺตุ > สุตสีลวนฺตุ+สิ วิเคราะห์ว่า. สุตญฺจ สีลญฺจาติ สุตสีลํ (สุตะและศึล ชื่อว่า สุตสีล), สุตสีลํ ยสฺส อตฺถีติ สุตสีลวา, สมโณ. (ผู้มีสุตะและศีล ขื่อว่า สุตสีลวา) ตทัสสัตถิตัทธิต มีทวันทวสมาสเป็นท้อง.
เตสุ (เหล่านั้น) ต+สุ สัพพนาม
วิปุลชาเตสุ (เกิดความไพบูลย์, เกิดมีจำนวนมากมาย) วิปุลชาต+สุ
รฎฺฐมฺปิ (แม้รัฐ, เมือง, ประเทศ) รฏฺฐํ+อปิ เป็นนิบาต ส่วน รฏฐํ มาจาก รฏฺฐ+สิ นป.
วิปุลํ (ไพบูลย์, เจริญ, งอกงาม) วิปุล+สิ
สิยา (พึงมี, พึงเป็น) √อส+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
--
อีกสำนวนหนึ่งจากโลกนีติไตรพากย์ (พากย์โลกนีติ) ท่านแปลไว้น่าฟัง ควรแก่การจดจำ ดังนี้
กสฺสโก วาณิโชมจฺโจ, สมโณ สุตสีลวา;
เตสุ วิปุลชาเตสุ, รฏฺฐํปิ วิปุลํ สิยา ฯ
ชาวนา ๑ พ่อค้า ๑ อมาตย์ ๑
สมณะมีความรู้และศีลบริบูรณ์ ๑
เหล่านี้ เมื่อมีจำนวนทวีขึ้น
บ้านเมืองต้องสมบูณร์ใหญ่โตแน่.
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ชาวนา พ่อค้า ข้าราชการ สมณะมีความรู้แลศีล
เมื่อ ๔ จำพวกนั้นเจริญเต็มที่แล้ว แม้แว่นแคว้น
ก็จะพึงไพบูลย์.
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
ชาวนา พ่อค้า ข้าราชการ สมณะ
มีศีลาจารวัตรทรงวิทยาคุณ
เมื่อคน ๔ พวกนี้เจริญเต็มที่แล้ว
แว่นแคว้นก็ถึงความไพบูลย์ด้วย.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen