๒๗๙. ผิดโดยการคลัง
ตเถว เนคเม หึสํ, เย ยุตฺตา กยวิกฺกเย;
โอชาทานพลิกาเร, ส โกเสน วิรุชฺฌติ.
เหมือนอย่างนั้น พระราชาองค์ใด
เบียดเบียนอยู่ซี่งประชาชนในประเทศ
ผู้ทำการค้าขายยอมเสียภาษีและอากร
ราชาพระองค์นั้นชื่อว่าย่อมผิดโดยการคลัง.
(ธรรมนีติ ราชธรรมกถา ๒๗๙, มหารหนีติ ๑๗๑, ขุ. ชา. ๒๘/๖๕ มหาโพธิชาดก)
--
ศัพท์น่ารู้ :
ตเถว ตัดบทเป็น ตถา+เอว (เหมือนอย่างนั้นนั่นเทียว, เช่นเดียวกันแล, อนึ่ง) นิบาตบท
เนคเม (ซึ่งชาวนิคม ท.) เนคม+โย
หึสํ (เบียดเบียนอยู่)หึสนฺต+สิ
เย (เหล่าใด) ย+โย สัพพนาม
ยุตฺตา (ประกอบแล้ว) ยุตฺต+โย
กยวิกฺกเย (ในการซื้อและการขาย) กย+วิกฺกย > กยวิกฺกย+สฺมึ
โอชาทานพลิกาเร (ผู้เสริมกำลังและทำการบูชา, ผู้เสียภาษีและอากร) โอชาทาน+พลิการ > โอชาทานพลิการ+โย, ในมหารหนีติ เป็น สุงฺกทานพลีกาเร (ให้ส่วยและทำพลี)
ส = โส (นั้น) ต+สิ สัพพนาม
โกเสน (ฝัก, ปลอก, ยุ้ง, ฉาง, ห้องเก็บของ, โกดัง, คลัง, ภาชนะใส่อาหาร, รังไหม, ถุงอัณฑะ, มาตราวัดยาว ๕๐๐ ชั่วคันธนู) โกส+นา
วิรุชฺฌติ (ผิด, คลาด, เคลื่อน, กำเริบ, ทำร้าย, มุ่งร้าย) วิ+√รุธ+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.
ในพระบาฬีภาษาไทย ฉบับสยามรัฐ มีขัอความภาษาบาฬีพร้อมคำแปลดังนี้.
ตเถว เนคเม หึสํ, เย ยุตฺตา กยวิกฺกเย;
โอชทานพลีกาเร, ส โกเสน วิรุชฺฌติ ฯ
อนึ่ง พระราชาพระองค์ใด ทรงเบียดเบียนชาว
นิคมผู้ประกอบการชื้อขาย กระทำการโอชะและพลีกรรม
พระราชาพระองค์นั้น ย่อมคลาดจากส่วนพระราชทรัพย์.
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ในนิคมก็เหมือนกัน ราษฏรเหล่าใดประกอบ
การค้าซื้อขาย พญาใดเบียดเบียฬราษฏรเหล่านั้น
ในทางภาษีอากร พญานั้นย่อมผิดโดยการคลัง.
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
ในชาวนิคมก็เหมือนกัน ประชาชนประกอบการค้าขาย
ท้าวพระยาพระองค์ใดทรงเบียดเบียนประชาชนเหล่านั้น
โดยทางภาษีอากร ท้าวพระยาพระองค์นั้นชื่อว่าทรงผิดต่อการคลัง.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen