Mittwoch, 30. August 2023

๒๘๐. ผิดต่อกองทัพ

๒๘๐. ผิดต่อกองทัพ


ปหารวรเขตฺตญฺญู, สงฺคาเมกตนิสฺสเม;

อุสฺสิเต หึสยํ ราชา, พเลน วิรุชฺฌติ.


พระราชาพระองค์ใดรับสั่งให้เบียดเบียน

มหาอำมาตย์ผู้มีชื่อเสียง ผู้รู้พื้นที่ในการรบ

เป็นอย่างดี ผู้ชำนาญในการทำสงคราม

พระราชาพระองค์นั้น ชื่อว่า ผิดต่อกองทัพ.


(ธรรมนีติ ราชธรรมกถา ๒๘๐, มหารหนีติ ๑๗๒, ขุ. ชา. ๒๘/๖๕ มหาโพธิชาดก)


--


ศัพท์น่ารู้ :


ปหารวรเขตฺตญฺญู (ผู้รู้เขตการปหารอย่างเลิศ, ทหารนักแม่นธนู)ปหาร-วร+เขตฺตญฺญู > ปหารวรเขตฺตญฺญู+โย, ในมหารหนีติ เป็น มหารวรเขตฺเตสุ (?) น่าจะเป็นศัพท์ที่คลาดเคลื่อน.

สงฺคาเม (ในสงคราม,​ในการรบ) สงฺคาม+สฺมึ

กตนิสฺสเม (ผู้มีการใคร่ครวญอันตนทำแล้ว, ผู้คิดรอบคอบ) กต+นิสฺสม > กตนิสฺสม+โย, รวมทั้งวลีว่า สงฺคาเม กตนิสฺสเม หมายถึง ทหารชั้นผู้ใหญ่ที่มีความสามารถในการรบ.

อุสฺสิเต (มหาอำมาตย์ผู้มีชื่อเสียง) อุสฺสิต+โย

หึสยํ = หึสยนฺโต (เบียนเบียดเอง, ให้คนอื่นเบียนเบียดอยู่) √หึส+ณย+อนฺต > หึสยนฺต+สิ = หึสยํ

ราชา (พระราชา, ผู้เป็นใหญ่) ราช+สิ

= โส (นั้น) +สิ สัพพนาม 

พเลน (กองกำลัง, กองพล, กองทัพ) พล+นา 

วิรุชฺฌติ (ผิด, พิรุธ) วิ+√รุธ++ติ ทิวาทิ. กัตตุ.



--

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



พญาใดทรงทราบเขตแห่งยุทธการอย่างใหญ่ เมื่อ

ทรงทำสงครามชำนะแล้ว ครั้นฝ่ายหนึ่งยกธงแพ้

พระองค์ยังเบียดเบียฬ  พญานั้นชื่อว่าผิดทางกองทัพ.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ท้าวพระยาพระองค์ใดทรางทราบแดนยุทธนาการอย่างใหญ่

เมื่อชำนะสงครามแล้ว ฝ่ายข้าศึกยอมจำนนแล้ว ยังทรงซ้ำเติมอีก

ท้าวพระยาพระองค์นั้นชื่อว่าทรงผิดต่อกองทัพ.


--


 

Keine Kommentare: