๒๙๑. อย่าเลียนแบบ
น รญฺญา สมกํ วตฺถํ, น มาลํ น วิเลปนํ;
อากปฺปํ สรกุตฺตึ วา, น รญฺญา สทิสมาจเร.
ข้าเฝ้าไม่ควรใช้สอยเสื้อผ้า มาลา
และเครื่องลูบไล้ให้ทัดเทียมกับพระราชา
อีกทั้งอากัปกิริยาหรือการพูดจาก็อย่า
ประพฤติให้เหมือนพระเจ้าแผ่นดิน.
(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๒๙๑, กวิทปฺปณนีติ ๒๖๖, โลกนีติ ๑๓๔, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๑ วิธุรชาดก)
--
ศัพท์น่ารู้ :
น (ไม่, หามิได้) นิบาต
รญฺญา (ด้วยพระราชา) ราช+นา แปลง ราช กับวิภัตติเป็น รญฺญา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า นามฺหิ รญฺญา วา. (รู ๑๑๖), ในพระบาฬีเป็น รญฺโญ.
สมกํ (ที่เสมอ, ที่คล้าย, ที่เหมือน) สมก+อํ
วตฺถํ (ผ้า, เครื่องนุ่งห่ม) วตฺถ+อํ นป.
มาลํ (ดอกไม้, เครื่องประดับ) มาลา+อํ อิต.
วิเลปนํ (เครื่องลูบไล้, ของหอม) วิเลปน+อํ นป.
อากปฺปํ (กิริยา, ท่าทาง, อากัปปะ, กิริยาอาการ) อากปฺป+อํ ป.
สรกุตฺตึ (การตบแต่งเสียง, การเปล่งเสียง) สร (เสียง) + กุตฺติ (การจัด, การตกแต่ง) > สรกุตฺติ+อํ
วา (หรือ, หรือว่า)นิบาต
สทิสมาจเร ตัดบทเป็น สทิสํ+อาจเร (พึงประพฤติเช่นกับ, ประพฤติเหมือน). สทิส+อํ = สทิสํ (เหมือน, เช่นกับ), อา+√จร+อ+เอยฺย = อาจเร (ประพฤติ, ปฏิบัติ) ภูวาทิ. กัตตุ.
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
สูไม่พึงประพฤติเทียมพระราชา อีกมาลาและเครื่อง
ไล้อย่าใช้ให้เหมือน มารยาทแลสำนวนสุรเสียง
จงอย่าประพฤติล้อพระราชา.
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
เสื้อผ้ามาลามาลัยเครื่องลูบไล้ของหอม
อย่าใช้สอยประดับทัดเทียมพระเจ้าอยู่หัว
ทั้งอากัปกิริยา ทั้งพูดจาและปราศัยก็อย่าให้ทัดเทียมพระเจ้าอยู่หัว,
ควรทำให้ต่าง อย่าให้เหมือนอย่างพระองค์ท่าน
เพื่อเป็นการรักษาตนให้พ้นจากราคีกลีโทษ.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen