Sonntag, 17. September 2023

๒๙๗. พึงฉลาดในการรับใช้

๒๙๗. พึงฉลาดในการรับใช้


นาติทูเร ภเช รญฺโญ,  นจฺจาสนฺเน วิจกฺขโณ;

สมุขา จสฺส ติฏฺเฐยฺย, สนฺตสนฺโต สภตฺตุโน.


ราชเสวกต้องเป็นคนมีปัญญาไหวพริบ

อย่าเข้าเฝ้าให้ไกลนักหรือใกล้จนเกินไป

ควรยืนอยู่ในที่พอเหมาะต่อพระพักตร์ท่าน 

ต้องสงบเสงี่ยมเจียมตนต่อเจ้านายของตน.


(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๒๙๗, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๓ วิธุรชาดก)


--


ศัพท์น่ารู้ :


นาติทูเร ตัดบทเป็น +อติทูเร (ในที่ไม่ไกลเกินไป) อติ+ทูร > อติทูร+สฺมี = อติทูเร.

ภเช (คบหา, รับใช้) √ภช++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

รญฺโญ (พระราชา, ท้าวพญา) ราช+

นจฺจาสนฺเน ตัดบทเป็น +อจฺจาสนฺเน (ในที่ไม่ใกล้จนเกินไป) อติ+อาสนฺน > อจฺจาสนฺน+สฺมึ = อจฺจาสนฺเน. (ใตพระบาฬี เป็น นาจฺจาสนฺเน) 

วิจกฺขโณ (ผู้มีปัญญา) วิจกฺขณ+สิ

สมุขา จสฺส (และต่อพระพักตร์แห่งพระราชานั้น) สมุขา ต่อหน้า, และ, อสฺส ของพระราชาองค์นั้น. (ในพระบาฬีฉัฏฐสังคายนา เป็น สมฺมุขญฺจสฺส, ส่วนในฉบับสยามรัฐ เป็น สเมกฺขญฺจสฺส) 

ติฏฺเฐยฺย (พีงยืน,​ ดำรง) √ฐา++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ฐา เป็น ติฏฺฐ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ฐา ติฏฺโฐ. (รู ๔๙๒)

สนฺตสนฺโต (ผู้มีใจสงบ, ผู้สงบเสงี่ยม) สนฺต+สนฺต > สนฺตสนฺต+สิ (ส่วนในพระบาฬี เป็น สนฺทิสฺสนฺโต) 

สภตฺตุโน (ผู้เป็นเจ้านายของตน) สก+ภตฺตุ > สภตฺตุ+ 


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



คนฉลาดไม่พึงเข้าเฝ้าพระราชาให้ห่างนัก

แลมิให้ชิดนัก แลพึงยืนอยู่ต่อพระพักตร์ของพระองค์

มีใจอันสงบตรงต่อจ้าวของตน.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


เป็นราชเสวก ต้องรอบรู้ในราชกิจ

มีไหวพริบดีในกิจอุปฐาก

อย่าเฝ้าให้ไกลนักให้ใกล้นัก 

ควรยืนเฝ้า พอพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นถนัด

และพอจะได้ยินกระแสพระดำรัสที่ตรัสใช้.


--


 

Keine Kommentare: