Samstag, 16. September 2023

๒๙๖. อย่าทนงตน

๒๙๖. อย่าทนงตน


นาสฺส ปิฎฺฐํ ปลฺลงฺกํ, โกจฺฉํ นาวํ รถํ;

สมฺมโตมฺหีติ อารุฬฺเห, ราชวสตึ วเส.


ราชเสวกผู้ควรอยู่ในราชสำนัก

ไม่พึงขึ้นร่วมพระตั่ง ราชบัลลังก์

พระราชอาสน์ เรือและรถพระที่นั่ง 

ด้วยคิดว่าเป็นคนโปรดของพระเจ้าอยู่หัว.


(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๒๙๖, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๓ วิธุรชาดก)


--


ศัพท์น่ารู้ :


นาสฺส ตัดบทเป็น +อสฺส (มีพึงเป็น, พึงเป็น หามิได้) √อส++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. แปลงวิภัตติกับที่สุดธาตุเป็น สฺส ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ . (รู ๔๘๘)

ปีฐํ (ตั่ง, ที่นั่ง, แคร่, เก้าอี้) ปีฐ+อํ (เดิมเป็น ปิฏฺฐํ ได้แก้เป็น ปีฐํ ตามพระบาฬี)

= อารุเหยฺย (ไม่ควรขึ้นไป) อา+√รุห++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

ปลฺลงฺกํ (บัลลังก์, ที่ประทับ) ปลฺลงฺก+อํ

โกจฺฉํ (ตั่ง, ที่นัง, แคร่อันงดงาม) โกจฺฉ+อํ อรรถกถาแก้เป็น ภทฺทปีฐํ 

นาวํ (เรือ, นาวา) นาวา+อํ อิต. 

รถํ (รถ, ยาน, พาหนะ) รถ+อํ .

สมฺมโตมฺหีติ ตัดบทเป็น สมฺมโต+อมฺหิ+อิติ (ว่า เราเป็นผู้ถูกยกย่องแล้ว) สํ+√มน+ > สมฺมต+สิ = สมฺมโต (ถูกรู้แล้ว, ถูกบูชาแล้ว). √อส++มิ > อมฺหิ (ย่อมเป็น) ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง มิ เป็น มฺหิ มฺห และลบที่สุดธาตุ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อสสฺมา มิมานํ มฺหิมฺหานฺตโลโป . (รู ๔๙๙). 

อารุฬฺเห (ขึ้น,​งอก, เติบโต) อา+√รุห+ > อารุฬฺห+สฺมึ, ส่วนในพระบาฬีฉบับสยามรัฐ เป็น อารุยฺเห, ในพระบาฬีฉบับฉัฏฐสังคายนา เป็น อารูเห, ในอรรถกถา แก้เป็น อารุเหยฺย. ส่วนอรรถกถาฉบับสยามรัฐ เป็น อาโรเหยฺย

ราชวสตึ วเส  (เขาพึงอยู่ในราชสำนักได้)


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ตั่งที่ประดับ พระแท่นบัลลังก์ เก้าอี้ เรือ รถ 

ข้าเฝ้าไม่พึงขึ้นไปเล่น โดยเห็นว่าเราได้ยกย่องแล้ว

จึ่งอยู่ในราชสำนักได้.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


พระแท่น ราชบัลลังก์ ภัทรบิฐ

เรือ รถพระที่นั่ง ราชเสวกอย่าทนงตน

ว่าเป็นคนโปรดปรานแล้วขึ้นร่วม.


--


 

Keine Kommentare: