Montag, 18. September 2023

๒๙๘. ทรงพิโรธฉับพลัน

๒๙๘. ทรงพิโรธฉับพลัน


เม ราชา สขา โหติ, ราชา โหติ เมถุโน;

ขิปฺปํ กุชฺฌนฺติ ราชาโน, สุเลนกฺขิว ฆฎฺฎิตํ.


(ราชเสวกพึงสำเหนียกอยู่ว่า) :

พระเจ้าอยู่หัวมิใช่เพื่อนของเรา

พระองค์มิใช่เพื่อนเล่นหัวของเรา,

ที่จริงพระเจ้าแผ่นดินทรงพิโรธได้ฉับพลัน

ดุจนัยตาถูกหนวดข้าวบาร์เลย์เสียดสี ฉะนั้น.


(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๒๙๘, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๓ วิธุรชาดก)


--


ศัพท์น่ารู้ :


(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ 

เม (ของเรา) อมฺห+ สัพพนาม 

ราชา (พระราชา) ราช+สิ แปลง สิ หลัง ราช, สข เป็นต้นศัพท์เป็น อา ด้วยสูตรว่า สฺยา . (รู ๑๑๓)

สขา (เพื่อน, สหาย) สข+สิ

โหติ (ย่อมเป็น) √หู++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

เมถุโน (เพื่อนคู่หู, ผู้สนิท, เมถุน) เมถุน+สิ

ขิปฺปํ (พลัน, ด่วน, ทันที) นิบาตใช้ในอรรถสีฆ-ด่วนพลัน.

กุชฺฌนฺติ (โกรธ, ขุ่นเคือง) √กุธ++อนฺติ ทิวาทิ. กัตตุ.

ราชาโน (พระราชา .) ราช+โย แปลง โย หลัง ราช ศัพท์เป็นต้นเป็น อาโน ด้วยสูตรว่า โยนมาโน. (รู ๑๑๔)

สุเลนกฺขิว (สูเกนกฺขีว, สุเกนกฺขีว) ตัดบทเป็น สุเลน+อกฺขิ+อิว (อันหลาว, หนวดข้าวบาเล่ย์, หนวดข้าวโพด + ตา,​ ดวงตา + ราวกะ, ดุจ) พระบาฬีฉบับฉัฏฐสังคายนา เป็น สูเกนกฺขีว​, ฉบับสยามรัฐ เป็น สุเกนกฺขีว, ส่วนในธัมมนีตินี้ เป็น สุเลนกฺขิว. ศัพที่ต่างกันคือ สูก (หลาว,​ หนวดข้าว), สุก (นกแก้ว), สุล (? ไม่มีความหมาย)

ฆฎฺฎิตํ (กระทบกระทั่ง, เสียดสี) √ฆฏฺฏ+อิ+ > ฆฏฺฏิต+สิ


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ท้าวพญามิใช่สหายของเรา ท้าวพญามิใช่ผู้สนิท

กับเราบัดเดี่ยวท้าวเธอทรงพิโรธ พระเนตร

ประหนึ่งว่าถูกแทงด้วยหลาว.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


เป็นราชเสวก อย่าชะล่าใจว่า 

พระเจ้าอยู่ทรงเป็นเพื่อนต้นของเรา

เป็นคู่กันกับเรา ธรรมดาว่าพระมหากษัตริย์นั้น

ทรงพิโรธได้ฉับพลัน ดุจนัยน์ตาถูกผงเข้าตาฉะนั้น.


--


 

Keine Kommentare: