Sonntag, 3. September 2023

๒๘๔. ส่วนหนึ่งของพระองค์

๒๘๔. ส่วนหนึ่งของพระองค์


ปุญฺญาปุญฺญํ กโรนฺเตสุ, ฉภาโค เอกเทสกํ;

ราชา ลภติ สพฺเพหิ, ตสฺมา ปาปา นิวารเย;

ปุญฺญเมว ปวฑฺเฒนฺโต, ชนกายํ ปสาสเย.


เมื่อประชาชนทำดีและทำชั่ว จัดเป็น ส่วน

พระราชาย่อมได้รับ ส่วนจากส่วนทั้งหมด

เหตุนั้น พระราชาพึงห้ามประชาชนจากความชั่ว

พึงสั่งสอนหมู่ประชาชนให้เจริญเฉพาะกุศลเถิด.


(ธัมมนีติ ราชธรรมกถา ๒๘๔)


--


ศัพท์น่ารู้ :


ปุญฺญาปุญฺญํ (บุญและบาป, ดีและชั่ว) ปุญฺญ+อปุญฺญ > ปุญฺญาปุญฺญ+อํ

กโรนฺเตสุ (กระทำอยู่) √กร+โอ+อนฺต > กโรนฺต+สุ 

ฉภาโค (หกส่วน, หกภาค) +ภาค > ฉภาค+สิ

เอกเทสกํ (ส่วนหนึ่ง) เอก+เทสก > เอกเทสก+อํ

ราชา (พระราชา, ผู้ปกครอง, ผู้เป็นใหญ่) ราช+สิ 

ลภติ (ย่อมได้, ได้รับ) √ลภ++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

สพฺเพหิ (จากทั้งหมด) สพฺพ+หิ, สัพพนาม

ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น) +สฺมา สัพพนาม หรือ นิบาต ก็ได้

ปาปา (จากบาป, ความชั่ว) ปาป+สฺมา

นิวารเย (พึงห้าม, ปราม, ขัดขวาง) นิ+√วร+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ.

ปุญฺญเมว ตัดบทเป็น ปุญฺญํ+เอว (ซึ่งบุญนั่นเทียว, ความดีเท่านั้น)

ปวฑฺเฒนฺโต (เจริญอยู่) +√วฑฺฒ++อนฺต > ปวฑฺฒนฺต+สิ

ชนกายํ (หมู่ชน, เหล่าประชน) ชน+กาย > ชนกาย+อํ

ปสาสเย (พึงให้สั่งสอน, ให้ปกครอง, ให้ประสาสน์) +√สาส+ณย+เอยฺย ภูวาทิเหตุกัตตุ.


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



เมื่อทำกันทั้งดีทั้งชั่ว  ทวยราษฏรทั้งหมดต้องรับ

ส่วน  ท้าวพญารับส่วน เหตุนั้น พระองค์พึง

ประกาศห้ามหมู่ชนเสียจากชั่ว  เพิ่มพูนแต่ความ

เจริญถ่ายเดียว.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


เมื่อคนเราทำกันทั้งดีทั้งชั่ว

ประชาชนต้องรับหกส่วน

ท้าวพระยาทรงรับไปส่วน

เหตุนั้น ท้าวเธอจึงต้องให้กฏหมายมห้ามประชาชนไม่ให้ทำชั่ว

แล้วทรงโปรดให้ประชาชนเพิ่มพูลแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว.


--


 

Keine Kommentare: