Montag, 4. September 2023

๒๘๕. ทุกชีวิตมีค่า

๒๘๕. ทุกชีวิตมีค่า


พาลสฺส ชีวิตํ อปฺปํ, ปณฺฑิตสฺส พหุตรํ;

ชนกายสฺส ราชาว, ราชธมฺโมว ราชุนํ.


ชีวิตของคนพาลมีค่าน้อย

ชีวิตของบัณฑิตมีค่ามากกว่า

ชีวิตของประชาชนคือพระราชา

ชีวิตของพระราชาคือราชธรรม.


(ธัมมนีติ ราชธรรมกถา ๒๘๕, มหารหนีติ ๘๙)


--


ศัพท์น่ารู้ :


พาลสฺส (ของคนพาล) พาล+ 

ชีวิตํ (ชีวิต, อายุ, ความเป็นอยู่) ชีวิต+สิ นป.

อปฺปํ (น้อย, นิดหน่อย) อปฺป+สิ

ปณฺฑิตสฺส (ของบัณฑิต) ปณฺฑิต+สิ

พหุตรํ (มากกว่า) พหุ+ตร ปัจจัยในวิเสสตัทธิต > พหุตร+สิ ในมหารหนีติ บาทคาถานี้ เป็น มิตรสฺสิ ตรํ ภเว (? จะแปลว่ากะไรดีหนอ!)

ชนกายสฺส (เหล่าชน, หมู่ประชาชน, พลเมือง) ชน+กาย > ชนกาย+

ราชาว ตัดบทเป็น ราชา+เอว (พระราชานั่นเทียว, พระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น)

ราชธมฺโมว ตัดบทเป็น ราชธมฺโม+เอว (ธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน-, ราชธรรมนั่นเทียว) ราช+ธมฺม > ราชธมฺม+สิ = ราชธมฺโม. เอว ศัพท์เป็นนิบาต ใช้ในอรรถอวธารณะ (กำหนด, จำกัดความ)

ราชุนํ = ราชูนํ (ของพระราชา .) ราช+นํ ทำรัสสะเพื่อรักษาฉันท์


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ชีวิตของคนพาลน้อย 

ของบัณฑิตยืนยาว  

ชีวิตของหมู่ชนก็คือพญา  

ชีวิตของท้าวพญาก็คือราชธรรม.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ชีวิตของคนพาลสั้น

ของบัณฑิตยาวนาน

ชีวิตของพสกนิกรก็คือท้าวพระยา

และชีวิตของท้าวพระยาก็คือราชธรรมนั้นแล.


--


 

Keine Kommentare: